:: ความดีงามและความชั่วร้ายผูกโยงกับการกระทำ (1) ::
อัลลอฮฺ ผู้ทรงบริสุทธิ์ ได้กำหนดให้การได้รับความดีงามทั้งหลายในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ และการพบเจอกับความชั่วร้ายทั้งหลายในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ ตามที่มีระบุไว้ในคัมภีร์นั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำ โดยการตอบแทนจะผูกพันกับเงื่อนไข และผลลัพธ์ที่เกิดก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุ นี่คือสิ่งที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้มากกว่า 1,000 ครั้ง
บางครั้งโดยการผูกโยงการตัดสินทางธรรมชาติกับหลักการศาสนาในรูปแบบที่เหมาะสมกัน เช่น ดำรัสของอัลลอฮฺ ผู้สูงส่ง ที่ว่า
فَلَمَّا عَتَوْا عَن مَّا نُهُوا عَنْهُ قُلْنَا لَهُمْ كُونُوا قِرَدَةً خَاسِئِينَ
ครั้นเมื่อพวกเขาละเมิดทำสิ่งที่พวกเขาถูกห้ามจากสิ่งนั้น เราก็ตรัสแก่พวกเขาว่า “พวกเจ้าทั้งหลายจงเป็นลิงที่ต่ำต้อยเสียเถิด” (อัลอะอฺร็อฟ 7 : 166)
พระองค์ตรัสอีกว่า
فَلَمَّا آسَفُونَا انتَقَمْنَا مِنْهُمْ
เมื่อพวกเขาทำให้เราโกรธกริ้ว เราก็ตอบแทนพวกเขาอย่างสาสม (อัซซุครุฟ 43 : 55)
พระองค์ตรัสอีกว่า
وَالسَّارِقُ وَالسَّارِقَةُ فَاقْطَعُوا أَيْدِيَهُمَا جَزَاءً بِمَا كَسَبَا
และชายที่ขโมยและหญิงที่ขโมยหญิงนั้น จงตัดมือของพวกเขาทั้งสองคน เป็นการตอบแทนต่อสิ่งที่ทั้งสองแสวงหา (อัลมาอิดะฮฺ 5 : 38)
พระองค์ตรัสไว้อีกว่า
إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِ وَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيرًا وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا
แท้จริงบรรดามุสลิมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตนชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาทั้งชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายทั้งชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แก่พวกเขาซึ่งการอภัยโทษและผลบุญการตอบแทนที่ยิ่งใหญ่ (อัลอะหฺซาบ 33 : 35)
และอายะฮฺแบบนี้มีอีกมากมาย
บางครั้งอัลลอฮฺก็เรียบเรียงมันในรูปแบบของเงื่อนไขและการตอบแทนที่จะได้รับ เช่น ดำรัสของพระองค์ที่ว่า
إِن تَتَّقُوا اللَّهَ يَجْعَل لَّكُمْ فُرْقَانًا وَيُكَفِّرْ عَنكُمْ سَيِّئَاتِكُمْ وَيَغْفِرْ لَكُمْ
หากพวกเจ้ายำเกรงต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงให้พวกเจ้ามีสิ่งที่ใช้จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ และจะทรงลบล้างความผิดทั้งหลายออกไปจากพวกเจ้า และจะทรงอภัยโทษให้กับพวกเจ้าด้วย (อัลอันฟาล 8 : 29)
และดำรัสของพระองค์ที่ว่า
فَإِن تَابُوا وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَآتَوُا الزَّكَاةَ فَإِخْوَانُكُمْ فِي الدِّينِ
แล้วหากพวกเขากลับเนื้อกลับตัว และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต พวกเขาก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา (อัตเตาบะฮฺ 9 : 11)
และดำรัสที่ว่า
وَأَن لَّوِ اسْتَقَامُوا عَلَى الطَّرِيقَةِ لَأَسْقَيْنَاهُم مَّاءً غَدَقًا
และหากพวกเขาดำรงมั่นอยู่บนเส้นทางที่เที่ยงธรรม แน่นอนเราก็จะให้พวกเขาได้ดื่มน้ำที่สดชื่น (คือ ริซกีที่มากมาย) (อัลญินนฺ 72 : 16)
เป็นต้น
และบางครั้ง ก็ใช้ “ลาม ตะอฺลีล” (หมายถึง เพื่อ, เพื่อว่า) เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُولُو الْأَلْبَابِ
เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน และเพื่อที่ผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ (ศ็อด 38 : 29)
และดำรัสที่ว่า
لِّتَكُونُوا شُهَدَاءَ عَلَى النَّاسِ وَيَكُونَ الرَّسُولُ عَلَيْكُمْ شَهِيدًا
เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และเราะสูลก็จะเป็นสักขีพยานแก่พวกเจ้า (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 143)
และบางครั้งก็ใช้คำว่า “กัย” (كَي) ที่มีความเดียวกับตะอ์ลีลเช่นกัน เช่น ดำรัสของอัลลอฮฺ ผู้สูงส่งที่ว่า
كَيْ لَا يَكُونَ دُولَةً بَيْنَ الْأَغْنِيَاءِ مِنكُمْ
เพื่อมันจะได้ไม่หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มคนที่ร่ำรวยในหมู่พวกเจ้าเท่านั้น (อัลหัชรฺ 59 : 7)
และบางครั้งก็ใช้ “บาอ์ สะบะบิยฺยะฮฺ” (บาอ์ที่ให้ความหมายว่า เพราะ, เนื่องจาก) เช่น ดำรัสของพระองค์ที่ว่า
ذَٰلِكَ بِمَا قَدَّمَتْ أَيْدِيكُمْ
สิ่งนั้น (การลงโทษ) เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่มือของพวกเจ้าได้ทำเอาไว้ (อาลิอิมรอน 3 : 182)
และดำรัสที่ว่า
بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ
เพราะสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน (อัลมาอิดะฮฺ 5 : 105)
และดำรัสที่ว่า
بِمَا كُنتُمْ تَكْسِبُونَ
เนื่องจากสิ่งที่พวกเจ้าแสวงหา (อัลอะอฺร็อฟ 7 : 39)
และดำรัสของพระองค์ที่ว่า
ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمْ كَانُوا يَكْفُرُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ
นั่นก็เพราะว่าพวกเขาเคยปฏิเสธบรรดาโองการของอัลลอฮฺ (อาลิอิมรอน 3 : 112)
และบางครั้งก็ใช้ “มัฟอูล ลิอัจลิฮฺ” (คำนามที่บ่งชี้ถึงสาเหตุที่การกระทำหนึ่งเกิดขึ้น) ไม่ว่าจะโดยชัดเจนหรือตัวคำถูกถอดออกไป เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
فَرَجُلٌ وَامْرَأَتَانِ مِمَّن تَرْضَوْنَ مِنَ الشُّهَدَاءِ أَن تَضِلَّ إِحْدَاهُمَا فَتُذَكِّرَ إِحْدَاهُمَا الْأُخْرَىٰ
…ก็อนุญาตให้มีชายหนึ่งคนกับหญิงสองคนจากบุคคลที่พวกเจ้าพึงพอใจในหมู่พยานทั้งหลาย เพื่อที่ว่าหากหนึ่งในสองคนนั้นหลงลืมไป คนหนึ่งก็จะได้เตือนอีกคน (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 282)
และเช่นดำรัสของพระองค์ที่ว่า
أَن تَقُولُوا يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِنَّا كُنَّا عَنْ هَٰذَا غَافِلِينَ
(เราทำเช่นนั้น) เพื่อที่พวกเจ้าจะได้ไม่กล่าวในวันกิยามะฮฺว่า แท้จริงพวกข้าพระองค์ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ (อัลอะอฺร็อฟ 7 : 172)
และดำรัสที่ว่า
أَن تَقُولُوا إِنَّمَا أُنزِلَ الْكِتَابُ عَلَىٰ طَائِفَتَيْنِ مِن قَبْلِنَا
(เราประทานอัลกุรอานลงมา) เพื่อที่พวกเจ้าจะได้ไม่กล่าวว่า แท้จริงคัมภีร์ได้ถูกประทานลงมาให้กับ 2 กลุ่มก่อนหน้าเราเท่านั้น (อัลอันอาม 5 : 156)
บางครั้งก็หใช้ “ฟาอ์ สะบะบิยฺยะฮฺ” (ฟาอ์บอกสาเหตุ) เช่นดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
فَكَذَّبُوهُ فَعَقَرُوهَا فَدَمْدَمَ عَلَيْهِمْ رَبُّهُم بِذَنبِهِمْ فَسَوَّاهَا
แต่พวกเขาก็ปฏิเสธนบี (ศอลิหฺ) แล้วพวกเขาก็ฆ่ามัน (อูฐ) ดังนั้น พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาจึงทำลายล้างพวกเขา เพราะบาปของพวกเขา แล้วก็ทำให้ราบเรียบ (กับพื้นดิน) (อัชชัมสฺ 91 : 14)
และดำรัสที่ว่า
فَعَصَوْا رَسُولَ رَبِّهِمْ فَأَخَذَهُمْ أَخْذَةً رَّابِيَةً
แล้วพวกเขาก็ฝ่าฝืนเราะสูลของพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ดังนั้น พระองค์จึงลงโทษพวกเขาอย่างหนัก (อัลหากเกาะฮฺ 69 : 10)
และดำรัสที่ว่า
فَكَذَّبُوهُمَا فَكَانُوا مِنَ الْمُهْلَكِينَ
แล้วพวกเขาก็ปฏิเสธทั้งสอง พวกเขาจึงอยู่ในหมู่ผู้ถูกทำลาย (อัลมุอ์มินูน 23 : 48)
บางครั้งก็ใช้คำว่า “ลัมมา” (لَمَّا) ที่บ่งชี้ถึงการตอบแทน เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
فَلَمَّا آسَفُونَا انتَقَمْنَا مِنْهُمْ
เมื่อพวกเขาทำให้เราโกรธกริ้ว เราก็ตอบแทนพวกเขาอย่างสาสม (อัซซุครุฟ 43 : 55)
เป็นต้น
และบางครั้งก็ใช้คำว่า “อินนะ” ตามหน้าที่ของมัน (หมายถึง แท้จริง) เช่นดำรัสของพระองค์ที่ว่า
إِنَّهُمْ كَانُوا يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ
แท้จริงพวกเขาแข่งขันกันใน (การทำ) ความดี (อัลอัมบิยาอ์ 21 : 90)
และดำรัสที่ตรงข้ามกับคนเหล่านั้นคือ
إِنَّهُمْ كَانُوا قَوْمَ سَوْءٍ فَأَغْرَقْنَاهُمْ أَجْمَعِينَ
แท้จริงพวกเขาคือกลุ่มชนที่ชั่วช้า ดังนั้น เราจึงให้พวกเขาทั้งหมดจมน้ำตาย (อัลอัมบิยาอ์ 21 : 77)
และบางครั้งก็ใช้คำว่า “เลาลา” (لَوْ لَا) ที่บ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่มาก่อนกับสิ่งที่อยู่มาภายหลัง เช่นที่พระองค์ได้ตรัสว่า
فَلَوْلَا أَنَّهُ كَانَ مِنَ الْمُسَبِّحِينَ ﴿١٤٣﴾ لَلَبِثَ فِي بَطْنِهِ إِلَىٰ يَوْمِ يُبْعَثُونَ ﴿١٤٤﴾
หากว่าเขามิได้เป็นหนึ่งในหมู่ผู้สดุดีทั้งหลายแล้ว แน่นอนเขาจะต้องอยู่ในท้องของมัน (ปลาวาฬ) จวบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (อัศศ็อฟฟาต 37 : 143-144)
และบางครั้งก็ใช้คำว่า “เลา” (لَوْ) ที่บ่งชี้ถึงเงื่อนไข เช่นดำรัสที่ว่า
وَلَوْ أَنَّهُمْ فَعَلُوا مَا يُوعَظُونَ بِهِ لَكَانَ خَيْرًا لَّهُمْ
และหากว่าพวกเขาได้ทำตามที่ได้รับคำแนะนำแล้ว แน่นอนย่อมเป็นสิ่งดียิ่งแก่พวกเขา (อันนิสาอ์ 4 : 66)
———-
จากหนังสือ “อัดดาอ์ วัดดะวาอ์”
(หรือ “อัลญะวาบุลกาฟีย์ ลิมัน สะอะละ อะนิด ดะวาอิชชาฟีย์”)
โดย อิมามอิบนุก็อยยิม อัลเญาซิยยะฮฺ