حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ مُحَمَّدٍ قَالَ : حَدَّثَنَا سُفْيَانُ قَالَ : حَدَّثَنَا عَمْرٌو قَالَ : أَخْبَرَنِي سَعِيدُ بْنُ جُبَيْرٍ قَالَ : قُلْتُ لاِبْنِ عَبَّاسٍ : إِنَّ نَوْفًا الْبِكَالِيَّ يَزْعُمُ أَنَّ مُوسَى لَيْسَ بِمُوسَى بَنِي إِسْرَائِيلَ، إِنَّمَا هُوَ مُوسَى آخَرُ، فَقَالَ : كَذَبَ عَدُوُّ اللَّهِ، حَدَّثَنَا أُبَىُّ بْنُ كَعْبٍ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ
“{ قَامَ مُوسَى النَّبِيُّ خَطِيبًا فِي بَنِي إِسْرَائِيلَ، فَسُئِلَ : أَىُّ النَّاسِ أَعْلَمُ؟، فَقَالَ “أَنَا أَعْلَمُ” فَعَتَبَ اللَّهُ عَلَيْهِ إِذْ لَمْ يَرُدَّ الْعِلْمَ إِلَيْهِ، فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَيْهِ “أَنَّ عَبْدًا مِنْ عِبَادِي بِمَجْمَعِ الْبَحْرَيْنِ هُوَ أَعْلَمُ مِنْكَ” قَالَ “يَا رَبِّ وَكَيْفَ بِهِ؟” فَقِيلَ لَهُ “احْمِلْ حُوتًا فِي مِكْتَلٍ فَإِذَا فَقَدْتَهُ فَهْوَ ثَمَّ”
فَانْطَلَقَ وَانْطَلَقَ بِفَتَاهُ يُوشَعَ بْنِ نُونٍ، وَحَمَلاَ حُوتًا فِي مِكْتَلٍ، حَتَّى كَانَا عِنْدَ الصَّخْرَةِ وَضَعَا رُءُوسَهُمَا وَنَامَا فَانْسَلَّ الْحُوتُ مِنَ الْمِكْتَلِ فَاتَّخَذَ سَبِيلَهُ فِي الْبَحْرِ سَرَبًا، وَكَانَ لِمُوسَى وَفَتَاهُ عَجَبًا، فَانْطَلَقَا بَقِيَّةَ لَيْلَتِهِمَا وَيَوْمِهِمَا، فَلَمَّا أَصْبَحَ قَالَ مُوسَى لِفَتَاهُ “آتِنَا غَدَاءَنَا، لَقَدْ لَقِينَا مِنْ سَفَرِنَا هَذَا نَصَبًا” وَلَمْ يَجِدْ مُوسَى مَسًّا مِنَ النَّصَبِ، حَتَّى جَاوَزَ الْمَكَانَ الَّذِي أُمِرَ بِهِ، فَقَالَ لَهُ فَتَاهُ “أَرَأَيْتَ إِذْ أَوَيْنَا إِلَى الصَّخْرَةِ فَإِنِّي نَسِيتُ الْحُوتَ” قَالَ مُوسَى “ذَلِكَ مَا كُنَّا نَبْغِي، فَارْتَدَّا عَلَى آثَارِهِمَا قَصَصًا”
فَلَمَّا انْتَهَيَا إِلَى الصَّخْرَةِ إِذَا رَجُلٌ مُسَجًّى بِثَوْبٍ، أَوْ قَالَ : تَسَجَّى بِثَوْبِهِ، فَسَلَّمَ مُوسَى، فَقَالَ الْخَضِرُ “وَأَنَّى بِأَرْضِكَ السَّلاَمُ” فَقَالَ “أَنَا مُوسَى” فَقَالَ “مُوسَى بَنِي إِسْرَائِيلَ” قَالَ “نَعَمْ” قَالَ “هَلْ أَتَّبِعُكَ عَلَى أَنْ تُعَلِّمَنِي مِمَّا عُلِّمْتَ رَشَدًا” قَالَ “إِنَّكَ لَنْ تَسْتَطِيعَ مَعِيَ صَبْرًا، يَا مُوسَى إِنِّي عَلَى عِلْمٍ مِنْ عِلْمِ اللَّهِ عَلَّمَنِيهِ لاَ تَعْلَمُهُ أَنْتَ، وَأَنْتَ عَلَى عِلْمٍ عَلَّمَكَهُ لاَ أَعْلَمُهُ” قَالَ “سَتَجِدُنِي إِنْ شَاءَ اللَّهُ صَابِرًا، وَلاَ أَعْصِي لَكَ أَمْرًا”
فَانْطَلَقَا يَمْشِيَانِ عَلَى سَاحِلِ الْبَحْرِ لَيْسَ لَهُمَا سَفِينَةٌ، فَمَرَّتْ بِهِمَا سَفِينَةٌ، فَكَلَّمُوهُمْ أَنْ يَحْمِلُوهُمَا، فَعُرِفَ الْخَضِرُ، فَحَمَلُوهُمَا بِغَيْرِ نَوْلٍ، فَجَاءَ عُصْفُورٌ فَوَقَعَ عَلَى حَرْفِ السَّفِينَةِ، فَنَقَرَ نَقْرَةً أَوْ نَقْرَتَيْنِ فِي الْبَحْرِ، فَقَالَ الْخَضِرُ “يَا مُوسَى، مَا نَقَصَ عِلْمِي وَعِلْمُكَ مِنْ عِلْمِ اللَّهِ إِلاَّ كَنَقْرَةِ هَذَا الْعُصْفُورِ فِي الْبَحْرِ” فَعَمَدَ الْخَضِرُ إِلَى لَوْحٍ مِنْ أَلْوَاحِ السَّفِينَةِ فَنَزَعَهُ، فَقَالَ مُوسَى “قَوْمٌ حَمَلُونَا بِغَيْرِ نَوْلٍ، عَمَدْتَ إِلَى سَفِينَتِهِمْ فَخَرَقْتَهَا لِتُغْرِقَ أَهْلَهَا” قَالَ “أَلَمْ أَقُلْ إِنَّكَ لَنْ تَسْتَطِيعَ مَعِيَ صَبْرًا” قَالَ “لاَ تُؤَاخِذْنِي بِمَا نَسِيتُ” فَكَانَتِ الأُولَى مِنْ مُوسَى نِسْيَانًا،
فَانْطَلَقَا فَإِذَا غُلاَمٌ يَلْعَبُ مَعَ الْغِلْمَانِ، فَأَخَذَ الْخَضِرُ بِرَأْسِهِ مِنْ أَعْلاَهُ فَاقْتَلَعَ رَأْسَهُ بِيَدِهِ، فَقَالَ مُوسَى “أَقَتَلْتَ نَفْسًا زَكِيَّةً بِغَيْرِ نَفْسٍ” قَالَ “أَلَمْ أَقُلْ لَكَ إِنَّكَ لَنْ تَسْتَطِيعَ مَعِيَ صَبْرًا” قَالَ ابْنُ عُيَيْنَةَ : وَهَذَا أَوْكَدُ، فَانْطَلَقَا حَتَّى إِذَا أَتَيَا أَهْلَ قَرْيَةٍ اسْتَطْعَمَا أَهْلَهَا، فَأَبَوْا أَنْ يُضَيِّفُوهُمَا، فَوَجَدَا فِيهَا جِدَارًا يُرِيدُ أَنْ يَنْقَضَّ فَأَقَامَهُ، قَالَ الْخَضِرُ بِيَدِهِ فَأَقَامَهُ، فَقَالَ لَهُ مُوسَى “لَوْ شِئْتَ لاَتَّخَذْتَ عَلَيْهِ أَجْرًا” قَالَ “هَذَا فِرَاقُ بَيْنِي وَبَيْنِكَ” } قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { يَرْحَمُ اللَّهُ مُوسَى، لَوَدِدْنَا لَوْ صَبَرَ حَتَّى يُقَصَّ عَلَيْنَا مِنْ أَمْرِهِمَا }
อับดุลลอฮฺ บินมุฮัมหมัดได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า สุฟยานได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า อัมรูได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า สะอีด บินญุบัยรฺ ได้บอกเล่าแก่ฉันโดยกล่าวว่า ฉันเคยพูดกับท่านอิบนุอับบาสว่า : เนาฟฺ อัลบิกาลีย์ อ้างว่า มูซา (ที่พบเจอกับเคาะฎิร) นั้นไม่ใช่นบีมูซาของบนีอิสรออีล แต่เป็นมูซาอื่น ท่านอิบนุอับบาสจึงกล่าวว่า : ศัตรูของอัลลอฮฺนั้นโกหกหลอกลวง ท่านอุบัย บินกะอบฺ ได้รายงานแก่พวกเรา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
“(วันหนึ่ง) มูซาได้ลุกขึ้นกล่าวคุฏบะฮฺแก่บนีอิสรออีล และเขาก็ถูกถามว่า ‘ใครคือคนที่มีความรู้มากที่สุด?’ มูซาตอบว่า ‘ฉันไงที่รู้มากที่สุด!’ อัลลอฮฺจึงตำหนิเขาเพราะเขาไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้ แล้วพระองค์ก็ประทานวะหฺยูแก่มูซาว่า “แท้จริงบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวทั้งหลายของข้า เขาอาศัยอยู่ที่ที่ 2 ทะเลมาบรรจบกัน เขาคือคนที่มีความรู้มากกว่าเจ้า” มูซาจึงถามว่า “โอ้พระผู้อภิบาล บ่าวจะไปพบเขาได้อย่างไรบ้าง?” มูซาได้รับคำตอบกลับมาว่า “จงนำปลาใส่ไว้ในภาชนะไปด้วย เมื่อใดที่ปลาตัวนั้นหายไป นั่นแหละคือที่อยู่ของเขา”
มูซาก็ได้ออกเดินทางไปพร้อมกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เป็นผู้ช่วยของเขาซึ่งมีชื่อ ‘ยูชะอฺ บินนูน’ ทั้งสองไม่ลืมที่จะนำปลาใส่ไว้ในภาชนะไปด้วย เมื่อพวกเขาได้ไปถึงหินก้อนใหญ่ ทั้งสองก็ได้หยุดพัก เอนศีรษะลง และเผลอหลับไป ตอนนั้นเองที่ปลาในภาชนะได้กระโดดหนี และเลื้อยไปมากระทั่งถึงฝั่งทะเล เหตุการณ์นี้ทำให้มูซาและผู้ช่วยของเขาประหลาดใจ แล้วทั้งสองใช้เวลาในช่วงกลางคืนและกลางวันที่เหลือเดินทางต่อไป แล้วเช้าวันต่อมามูซาก็ได้ถามผู้ช่วยของเขา ‘จงนำอาหารกลางวันของเราออกมา แท้จริงเราได้รับความยากลำบากจากการเดินทางของเราในครั้งนี้’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 62) และมูซาไม่รู้สึกลำบากเลย (ในการเดินทางนี้) กระทั่งเขาเดินทางผ่านจุดที่อัลลอฮฺได้บอกเอาไว้ไปแล้ว แล้วผู้ช่วยของมูซาก็กล่าวแก่เขาว่า ‘ท่านไม่เห็นหรือขณะที่เราพักอยู่ที่ก้อนหิน? แท้จริงแล้วผมลืมปลาไปเลย’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 63) มูซาก็กล่าวว่า ‘นั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องการหา’ แล้วทั้งสองก็ตามร่องรอยย้อนกลับไปที่เดิม (อัลกะฮฟฺ 18:64)
เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงก้อนหินใหญ่ พวกเขาก็ได้พบกับชายคนหนึ่งที่คลุมหัวด้วยผ้า หรือท่านนบีกล่าวว่า : เขาใช้ผ้าของเขาคลุมไว้ มูซาก็กล่าวสลามให้กับเขา (เขาชื่อว่า) เคาะฎิรได้กล่าวว่า ‘แท้จริงตัวฉันบนแผ่นดินของท่านนี้ ขอกล่าวตอบรับอิสลาม’ แล้วมูซาก็กล่าวว่า ‘ฉันคือมูซา’ เคาะฎิรถามว่า ‘มูซาจากบนีอิสรออีลใช่ไหม?’ มูซาตอบว่า ‘ใช่แล้ว แล้วมูซาก็กล่าวว่า ‘ฉันสามารถติดตามท่านไปได้ไหม? ท่านจะได้สอนฉันซึ่งทางที่ถูกต้องที่ท่านได้เรียนรู้มา’ เคาะฎิรกล่าวว่า ‘แท้จริง ท่านไม่สามารถทนอยู่ร่วมกันฉันได้หรอก’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 66-67) (เคาะฎิรยังกล่าวอีกว่า) ‘โอ้มูซา แท้จริงฉันมีความรู้หนึ่งจากความรู้ทั้งหลายของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสอนฉันแต่มิได้ทรงสอนท่าน และเช่นเดียวกันท่านก็มีความรู้ที่อัลลอฮฺทรงสอนแก่ท่านแต่ฉันไม่รู้เกี่ยวกับมันง มูซาก็ได้กล่าวว่า ‘หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ ท่านจะพบว่าฉันคือผู้อดทน และฉันจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่าน’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 69)
(สุดท้ายเคาะฎิรก็ตกลง) แล้วทั้งสองก็เดินทางไปตามริมชายฝั่ง ทั้งสองไม่มีเรือ แล้วเรือลำหนึ่งก็แล่นผ่านมา พวกเขาจึงพูดคุยกับคนบนเรือเพื่อให้พาพวกเขาไปด้วย ซึ่งคนเหล่านั้นรู้จักเคาะฎิร พวกเขาจึงพาทั้งสองไปโดยไม่คิดค่าโดยสารแต่อย่างใด ต่อมานกตัวหนึ่งก็บินมาเกาะที่ขอบเรือ มันจุ่มจะงอยปากของมันลงในทะเล 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วเคาะฎิรก็กล่าวกับมูซาว่า ‘โอ้มูซา ความรู้ของฉันและความรู้ของท่านนั้นเมื่อเทียบกับความรู้ของอัลลอฮฺแล้ว ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากเหมือนการที่นกตัวนี้จุ่มปากลงในน้ำทะเล’ แล้วเคาะฎิรก็ดึงแผ่นไม้แผ่นหนึ่งของเรือออกมาแล้วทำลาย มูซารีบพูดขึ้นมาทันทีว่า ‘พวกเขาพาเรามาโดยไม่คิดค่าโดยสารใด ๆ แต่ท่านกลับดึงไม้จากเรือของพวกเขาออกมาทำลาย ท่านจะให้คนที่อยู่บนเรือจมน้ำหรือไง?’ เคาะฎิรตอบกลับไปว่า ‘ฉันไม่ได้บอกหรือว่า แท้จริงท่านจะไม่สามารถอดทนอยู่กับฉันได้หรอก’ มูซาก็กล่าวว่า ‘โปรดอย่าเอาโทษในสิ่งที่ฉันลืมเลย’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 72-73) นั่นคือการลืมครั้งแรกของมูซา
จากนั้นพวกเขาก็เดินทางต่อไป แล้วพวกเขาก็ได้พบกับเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นกับเด็ก ๆ คนอื่น เคาพฎิรได้จับศีรษะของเด็กคนนั้นแล้วดึงมันด้วยมือของเขาเอง (จนเด็กคนนั้นเสียชีวิต) มูซาจึงพูดขึ้นมาว่า ‘ท่านฆ่าชีวิตที่บริสุทธิ์โดยมิใช่เป็นการชดเชยชีวิตอื่นกระนั้นหรือ?’ เคาะฎิรก็กล่าวว่า “ฉันมิได้พูดกับท่านหรือว่า แท้จริงท่านจะไม่สามารถอดทนอยู่ร่วมกับฉันได้หรอก’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 74-75) อิบนุอุยัยนะฮฺกล่าวว่า : นี่คือการย้ำ, แล้วทั้งสองก็เดินทางต่อไป กระทั่งทั้งสองได้พบกับชาวเมืองหนึ่ง ทั้งสองได้ขออาหารจากชาวเมืองนั้น แต่พวกเขาปฏิเสธที่จะต้อนรับเขาทั้งสอง ต่อมาทั้งสองได้พบกำแพงแห่งหนึ่งที่กำลังจะพังลงมา (อัลกะฮฟฺ 18 : 76) ท่านนบีกล่าวว่า : แล้วเคาะฎิรก็ทำให้มันมั่นคงด้วยมือของเขาเอง มูซาจึงแนะนำเคาะฎิรว่า ‘ถ้าท่านต้องการ ท่านสามารถรับเอาค่าตอบแทนสำหรับมันได้’ เคาะฎิรจึงกล่าวตอบว่า ‘นี่คือทางแยกระหว่างฉันกับท่าน’ (อัลกะฮฟฺ 18 : 77-78)” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ขออัลลอฮฺทรงเมตตาต่อมูซา เราหวังเหลือเกินว่า ถ้าเขาอดทนต่อไป คงจะมีเรื่องราวอีกมากมายเกี่ยวกับเขาทั้งสองที่จะถูกเล่าแก่พวกเรา”