حَدَّثَنَا مُسَدَّدٌ حَدَّثَنَا عَبْدُ الْوَاحِدِ بْنُ زِيَادٍ حَدَّثَنَا الْعَلَاءُ بْنُ الْمُسَيَّبِ قَالَ : حَدَّثَنِي أَبِي عَنْ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ قَالَ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا أَوَى إِلَى فِرَاشِهِ، نَامَ عَلَى شِقِّهِ الْأَيْمَنِ، ثُمَّ قَالَ { اللَّهُمَّ أَسْلَمْتُ نَفْسِي إِلَيْكَ، وَوَجَّهْتُ وَجْهِي إِلَيْكَ، وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إِلَيْكَ، وَأَلْجَأْتُ ظَهْرِي إِلَيْكَ رَغْبَةً وَرَهْبَةً إِلَيْكَ، لَا مَلْجَأَ وَلَا مَنْجَا مِنْكَ إِلَّا إِلَيْكَ، آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ، وَبِنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ } وَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { مَنْ قَالَهُنَّ ثُمَّ مَاتَ تَحْتَ لَيْلَتِهِ مَاتَ عَلَى الْفِطْرَةِ }
{ اسْتَرْهَبُوهُمْ } مِنْ الرَّهْبَةِ مَلَكُوتٌ مُلْكٌ، مَثَلُ رَهَبُوتٌ خَيْرٌ مِنْ رَحَمُوتٍ، تَقُولُ : تَرْهَبُ خَيْرٌ مِنْ أَنْ تَرْحَمَ
มุสัดดัดได้รายงานแก่พวกเราว่า อับดุลวาหิด บินซิยาด ได้รายงานแก่พวกเราว่า อัลอะลาอ์ บินอัลมุสัยยับ ได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า พ่อของฉันได้รายงานแก่ฉัน จากท่านอัลบะรออ์ บินอาซิบ กล่าวว่า : เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไปยังที่นอนของท่าน ท่านจะนอนตะแคงข้างขวา จากนั้นท่านก็กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ บ่าวขอน้อมนำใบหน้าของบ่าวยอมจำนนต่อพระองค์ บ่าวขอผินหน้าของบ่าวมุ่งไปยังพระองค์ บ่าวขอมอบหมายกิจการของบ่าวแก่พระองค์ บ่าวขอพิงหลังของบ่าวกับพระองค์ท่าน ด้วยความหวังและความกลัวต่อพระองค์ ไม่มีที่พึ่งพิงและไม่มีทางรอดจาก (การลงโทษของ) พระองค์ท่านนอกจากด้วย (การพึ่งพา) พระองค์ท่านเองเท่านั้น บ่าวศรัทธาต่อคัมภีร์ที่พระองค์ทรงประทานให้ และต่อนบีที่พระองค์ได้ส่งมา” และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ใครก็ตามที่กล่าวมัน (อัซการดังกล่าว) แล้วเขาเสียชีวิตในคืนนั้น เขาก็เสียชีวิตบนฟิฏเราะฮฺ (ความบริสุทธิ์)”
(อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า) “…อิสตัรฮะบูฮุม…” (หมายถึง “…ทำให้พวกเขากลัว…” (อัลอะอฺร็อฟ 7 : 116)) มาจากคำว่า “เราะฮฺบะฮฺ” (ความกลัว) เหมือนกับที่ “มะละกูต” มาจากคำว่า “มุลกฺ” (อำนาจการปกครอง) เช่นคำว่า “เราะฮะบูต” (มีความหวาดกลัว) นั้นดีกว่า “เราะหะมูต” (เมตตามากเกินไป) หรือการที่ท่านกล่าวว่า “ตัรฮะบุ” (การที่ท่านมีความหวาดกลัว) นั้นดีกว่า “ตัรหะมุ” (การที่ท่านมีเมตตา)