حَدَّثَنَا أَبُو الْيَمَانِ الْحَكَمُ بْنُ نَافِعٍ قَالَ : أَخْبَرَنَا شُعَيْبٌ عَنْ الزُّهْرِيِّ قَالَ : أَخْبَرَنِي عُبَيْدُ اللَّهِ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ بْنِ مَسْعُودٍ أَنَّ عَبْدَ اللَّهِ بْنَ عَبَّاسٍ أَخْبَرَهُ أَنَّ أَبَا سُفْيَانَ بْنَ حَرْبٍ أَخْبَرَهُ : أَنَّ هِرَقْلَ أَرْسَلَ إِلَيْهِ فِي رَكْبٍ مِنْ قُرَيْشٍ وَكَانُوا تِجَارًا بِالشَّأْمِ فِي الْمُدَّةِ الَّتِي كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَادَّ فِيهَا أَبَا سُفْيَانَ وَكُفَّارَ قُرَيْشٍ، فَأَتَوْهُ وَهُمْ بِإِيلِيَاءَ فَدَعَاهُمْ فِي مَجْلِسِهِ وَحَوْلَهُ عُظَمَاءُ الرُّومِ ثُمَّ دَعَاهُمْ وَدَعَا بِتَرْجُمَانِهِ، فَقَالَ : أَيُّكُمْ أَقْرَبُ نَسَبًا بِهَذَا الرَّجُلِ الَّذِي يَزْعُمُ أَنَّهُ نَبِيٌّ؟، فَقَالَ أَبُو سُفْيَانَ : فَقُلْتُ : أَنَا أَقْرَبُهُمْ نَسَبًا، فَقَالَ : أَدْنُوهُ مِنِّي، وَقَرِّبُوا أَصْحَابَهُ فَاجْعَلُوهُمْ عِنْدَ ظَهْرِهِ، ثُمَّ قَالَ لِتَرْجُمَانِهِ : قُلْ لَهُمْ إِنِّي سَائِلٌ هَذَا عَنْ هَذَا الرَّجُلِ فَإِنْ كَذَبَنِي فَكَذِّبُوهُ، فَوَاللَّهِ لَوْلَا الْحَيَاءُ مِنْ أَنْ يَأْثِرُوا عَلَيَّ كَذِبًا لَكَذَبْتُ عَنْهُ، ثُمَّ كَانَ أَوَّلَ مَا سَأَلَنِي عَنْهُ أَنْ قَالَ : كَيْفَ نَسَبُهُ فِيكُمْ؟ قُلْتُ : هُوَ فِينَا ذُو نَسَبٍ، قَالَ : فَهَلْ قَالَ هَذَا الْقَوْلَ مِنْكُمْ أَحَدٌ قَطُّ قَبْلَهُ؟، قُلْتُ : لَا، قَالَ : فَهَلْ كَانَ مِنْ آبَائِهِ مِنْ مَلِكٍ؟، قُلْتُ : لَا، قَالَ : فَأَشْرَافُ النَّاسِ يَتَّبِعُونَهُ أَمْ ضُعَفَاؤُهُمْ؟، فَقُلْتُ : بَلْ ضُعَفَاؤُهُمْ، قَالَ : أَيَزِيدُونَ أَمْ يَنْقُصُونَ؟، قُلْتُ : بَلْ يَزِيدُونَ، قَالَ : فَهَلْ يَرْتَدُّ أَحَدٌ مِنْهُمْ سَخْطَةً لِدِينِهِ بَعْدَ أَنْ يَدْخُلَ فِيهِ؟، قُلْتُ : لَا، قَالَ : فَهَلْ كُنْتُمْ تَتَّهِمُونَهُ بِالْكَذِبِ قَبْلَ أَنْ يَقُولَ مَا قَالَ؟، قُلْتُ : لَا، قَالَ : فَهَلْ يَغْدِرُ؟، قُلْتُ : لَا وَنَحْنُ مِنْهُ فِي مُدَّةٍ لَا نَدْرِي مَا هُوَ فَاعِلٌ فِيهَا، قَالَ : وَلَمْ تُمْكِنِّي كَلِمَةٌ أُدْخِلُ فِيهَا شَيْئًا غَيْرُ هَذِهِ الْكَلِمَةِ، قَالَ : فَهَلْ قَاتَلْتُمُوهُ؟، قُلْتُ : نَعَمْ، قَالَ : فَكَيْفَ كَانَ قِتَالُكُمْ إِيَّاهُ؟، قُلْتُ : الْحَرْبُ بَيْنَنَا وَبَيْنَهُ سِجَالٌ يَنَالُ مِنَّا وَنَنَالُ مِنْهُ، قَالَ : مَاذَا يَأْمُرُكُمْ؟، قُلْتُ : يَقُولُ اعْبُدُوا اللَّهَ وَحْدَهُ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَاتْرُكُوا مَا يَقُولُ آبَاؤُكُمْ وَيَأْمُرُنَا بِالصَّلَاةِ وَالزَّكَاةِ وَالصِّدْقِ وَالْعَفَافِ وَالصِّلَةِ،
فَقَالَ لِلتَّرْجُمَانِ : قُلْ لَهُ سَأَلْتُكَ عَنْ نَسَبِهِ فَذَكَرْتَ أَنَّهُ فِيكُمْ ذُو نَسَبٍ فَكَذَلِكَ الرُّسُلُ تُبْعَثُ فِي نَسَبِ قَوْمِهَا، وَسَأَلْتُكَ هَلْ قَالَ أَحَدٌ مِنْكُمْ هَذَا الْقَوْلَ فَذَكَرْتَ أَنْ لَا، فَقُلْتُ لَوْ كَانَ أَحَدٌ قَالَ هَذَا الْقَوْلَ قَبْلَهُ لَقُلْتُ رَجُلٌ يَأْتَسِي بِقَوْلٍ قِيلَ قَبْلَهُ، وَسَأَلْتُكَ هَلْ كَانَ مِنْ آبَائِهِ مِنْ مَلِكٍ فَذَكَرْتَ أَنْ لَا، قُلْتُ فَلَوْ كَانَ مِنْ آبَائِهِ مِنْ مَلِكٍ قُلْتُ رَجُلٌ يَطْلُبُ مُلْكَ أَبِيهِ، وَسَأَلْتُكَ هَلْ كُنْتُمْ تَتَّهِمُونَهُ بِالْكَذِبِ قَبْلَ أَنْ يَقُولَ مَا قَالَ فَذَكَرْتَ أَنْ لَا، فَقَدْ أَعْرِفُ أَنَّهُ لَمْ يَكُنْ لِيَذَرَ الْكَذِبَ عَلَى النَّاسِ وَيَكْذِبَ عَلَى اللَّهِ، وَسَأَلْتُكَ أَشْرَافُ النَّاسِ اتَّبَعُوهُ أَمْ ضُعَفَاؤُهُمْ، فَذَكَرْتَ أَنَّ ضُعَفَاءَهُمْ اتَّبَعُوهُ وَهُمْ أَتْبَاعُ الرُّسُلِ، وَسَأَلْتُكَ أَيَزِيدُونَ أَمْ يَنْقُصُونَ فَذَكَرْتَ أَنَّهُمْ يَزِيدُونَ، وَكَذَلِكَ أَمْرُ الْإِيمَانِ حَتَّى يَتِمَّ، وَسَأَلْتُكَ أَيَرْتَدُّ أَحَدٌ سَخْطَةً لِدِينِهِ بَعْدَ أَنْ يَدْخُلَ فِيهِ، فَذَكَرْتَ أَنْ لَا وَكَذَلِكَ الْإِيمَانُ حِينَ تُخَالِطُ بَشَاشَتُهُ الْقُلُوبَ، وَسَأَلْتُكَ هَلْ يَغْدِرُ فَذَكَرْتَ أَنْ لَا وَكَذَلِكَ الرُّسُلُ لَا تَغْدِرُ، وَسَأَلْتُكَ بِمَا يَأْمُرُكُمْ فَذَكَرْتَ أَنَّهُ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَعْبُدُوا اللَّهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَيَنْهَاكُمْ عَنْ عِبَادَةِ الْأَوْثَانِ وَيَأْمُرُكُمْ بِالصَّلَاةِ وَالصِّدْقِ وَالْعَفَافِ، فَإِنْ كَانَ مَا تَقُولُ حَقًّا فَسَيَمْلِكُ مَوْضِعَ قَدَمَيَّ هَاتَيْنِ وَقَدْ كُنْتُ أَعْلَمُ أَنَّهُ خَارِجٌ لَمْ أَكُنْ أَظُنُّ أَنَّهُ مِنْكُمْ فَلَوْ أَنِّي أَعْلَمُ أَنِّي أَخْلُصُ إِلَيْهِ لَتَجَشَّمْتُ لِقَاءَهُ وَلَوْ كُنْتُ عِنْدَهُ لَغَسَلْتُ عَنْ قَدَمِهِ،
ثُمَّ دَعَا بِكِتَابِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الَّذِي بَعَثَ بِهِ دِحْيَةُ إِلَى عَظِيمِ بُصْرَى فَدَفَعَهُ إِلَى هِرَقْلَ فَقَرَأَهُ، فَإِذَا فِيهِ : بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ، مِنْ مُحَمَّدٍ عَبْدِ اللَّهِ وَرَسُولِهِ إِلَى هِرَقْلَ عَظِيمِ الرُّومِ، سَلَامٌ عَلَى مَنْ اتَّبَعَ الْهُدَى، أَمَّا بَعْدُ فَإِنِّي أَدْعُوكَ بِدِعَايَةِ الْإِسْلَامِ، أَسْلِمْ تَسْلَمْ يُؤْتِكَ اللَّهُ أَجْرَكَ مَرَّتَيْنِ، فَإِنْ تَوَلَّيْتَ فَإِنَّ عَلَيْكَ إِثْمَ الْأَرِيسِيِّينَ وَ { يَا أَهْلَ الْكِتَابِ تَعَالَوْا إِلَى كَلِمَةٍ سَوَاءٍ بَيْنَنَا وَبَيْنَكُمْ أَنْ لَا نَعْبُدَ إِلَّا اللَّهَ وَلَا نُشْرِكَ بِهِ شَيْئًا وَلَا يَتَّخِذَ بَعْضُنَا بَعْضًا أَرْبَابًا مِنْ دُونِ اللَّهِ فَإِنْ تَوَلَّوْا فَقُولُوا اشْهَدُوا بِأَنَّا مُسْلِمُونَ } قَالَ أَبُو سُفْيَانَ : فَلَمَّا قَالَ مَا قَالَ وَفَرَغَ مِنْ قِرَاءَةِ الْكِتَابِ كَثُرَ عِنْدَهُ الصَّخَبُ وَارْتَفَعَتْ الْأَصْوَاتُ وَأُخْرِجْنَا، فَقُلْتُ لِأَصْحَابِي حِينَ أُخْرِجْنَا : لَقَدْ أَمِرَ أَمْرُ ابْنِ أَبِي كَبْشَةَ، إِنَّهُ يَخَافُهُ مَلِكُ بَنِي الْأَصْفَرِ، فَمَا زِلْتُ مُوقِنًا أَنَّهُ سَيَظْهَرُ حَتَّى أَدْخَلَ اللَّهُ عَلَيَّ الْإِسْلَامَ،
وَكَانَ ابْنُ النَّاظُورِ صَاحِبُ إِيلِيَاءَ وَهِرَقْلَ سُقُفًّا عَلَى نَصَارَى الشَّأْمِ يُحَدِّثُ : أَنَّ هِرَقْلَ حِينَ قَدِمَ إِيلِيَاءَ، أَصْبَحَ يَوْمًا خَبِيثَ النَّفْسِ، فَقَالَ بَعْضُ بَطَارِقَتِهِ : قَدْ اسْتَنْكَرْنَا هَيْئَتَكَ، قَالَ ابْنُ النَّاظُورِ : وَكَانَ هِرَقْلُ حَزَّاءً يَنْظُرُ فِي النُّجُومِ، فَقَالَ لَهُمْ حِينَ سَأَلُوهُ : إِنِّي رَأَيْتُ اللَّيْلَةَ حِينَ نَظَرْتُ فِي النُّجُومِ مَلِكَ الْخِتَانِ قَدْ ظَهَرَ فَمَنْ يَخْتَتِنُ مِنْ هَذِهِ الْأُمَّةِ؟، قَالُوا : لَيْسَ يَخْتَتِنُ إِلَّا الْيَهُودُ، فَلَا يُهِمَّنَّكَ شَأْنُهُمْ، وَاكْتُبْ إِلَى مَدَايِنِ مُلْكِكَ فَيَقْتُلُوا مَنْ فِيهِمْ مِنْ الْيَهُودِ، فَبَيْنَمَا هُمْ عَلَى أَمْرِهِمْ، أُتِيَ هِرَقْلُ بِرَجُلٍ أَرْسَلَ بِهِ مَلِكُ غَسَّانَ يُخْبِرُ عَنْ خَبَرِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَلَمَّا اسْتَخْبَرَهُ هِرَقْلُ قَالَ : اذْهَبُوا فَانْظُرُوا أَمُخْتَتِنٌ هُوَ أَمْ لَا، فَنَظَرُوا إِلَيْهِ فَحَدَّثُوهُ أَنَّهُ مُخْتَتِنٌ وَسَأَلَهُ عَنْ الْعَرَبِ، فَقَالَ : هُمْ يَخْتَتِنُونَ، فَقَالَ هِرَقْلُ : هَذَا مُلْكُ هَذِهِ الْأُمَّةِ قَدْ ظَهَرَ،
ثُمَّ كَتَبَ هِرَقْلُ إِلَى صَاحِبٍ لَهُ بِرُومِيَةَ وَكَانَ نَظِيرَهُ فِي الْعِلْمِ، وَسَارَ هِرَقْلُ إِلَى حِمْصَ، فَلَمْ يَرِمْ حِمْصَ حَتَّى أَتَاهُ كِتَابٌ مِنْ صَاحِبِهِ يُوَافِقُ رَأْيَ هِرَقْلَ عَلَى خُرُوجِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَنَّهُ نَبِيٌّ، فَأَذِنَ هِرَقْلُ لِعُظَمَاءِ الرُّومِ فِي دَسْكَرَةٍ لَهُ بِحِمْصَ، ثُمَّ أَمَرَ بِأَبْوَابِهَا فَغُلِّقَتْ ثُمَّ اطَّلَعَ، فَقَالَ : يَا مَعْشَرَ الرُّومِ هَلْ لَكُمْ فِي الْفَلَاحِ وَالرُّشْدِ وَأَنْ يَثْبُتَ مُلْكُكُمْ فَتُبَايِعُوا هَذَا النَّبِيَّ؟، فَحَاصُوا حَيْصَةَ حُمُرِ الْوَحْشِ إِلَى الْأَبْوَابِ فَوَجَدُوهَا قَدْ غُلِّقَتْ، فَلَمَّا رَأَى هِرَقْلُ نَفْرَتَهُمْ وَأَيِسَ مِنْ الْإِيمَانِ، قَالَ : رُدُّوهُمْ عَلَيَّ، وَقَالَ : إِنِّي قُلْتُ مَقَالَتِي آنِفًا أَخْتَبِرُ بِهَا شِدَّتَكُمْ عَلَى دِينِكُمْ فَقَدْ رَأَيْتُ، فَسَجَدُوا لَهُ وَرَضُوا عَنْهُ، فَكَانَ ذَلِكَ آخِرَ شَأْنِ هِرَقْلَ
رَوَاهُ صَالِحُ بْنُ كَيْسَانَ وَيُونُسُ وَمَعْمَرٌ عَنْ الزُّهْرِيِّ
อบุลยะมาน อัลหะกัม บินนาฟิอฺ ได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า ชุอัยบฺได้บอกเล่าแก่พวกเรา จากอัซซุฮฺรีย์ ซึ่งกล่าวว่า อุบัยดุลลอฮฺ บินอับดุลลอฮฺ บินอุตบะฮฺ บินมัสอูด ได้บอกเล่ากับฉันว่า ท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ได้เล่าให้กับเขาว่า ท่านอบูสุฟยาน บินหัรบฺ (หลังรับอิสลาม) ได้เล่าให้กับท่าน (อิบนุอับบาส) ว่า : (จักรพรรดิ) เฮราคลิอัสเคยส่งคำเชิญให้คาราวานพ่อค้าชาวกุร็อยชฺเข้าพบ โดยที่พวกเขากำลังทำการค้าขายอยู่ที่แผ่นดินชามในช่วงขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มีสัญญา (หุดัยบิยฺยะฮฺ) กับอบูสุฟยาน (ก่อนรับอิสลาม) และชาวกุร็อยชฺผู้ปฏิเสธศรัทธา แล้วพวกเขาก็ได้พบกับเฮราคลิอัสที่เมืองอิลยาอ์ เฮราคลิอัสเชิญพวกเขามาร่วมชุมนุม โดยมีเหล่าผู้นำของชาวโรมันอยู่รอบตัวเขา จากนั้นเฮราคลิอัสก็เชิญพวกเขา และเชิญล่ามแปลภาษามาด้วย แล้วเขาก็กล่าวว่า “ใครในหมู่พวกท่านที่มีสายตระกูลใกล้ชิดกับชายที่อ้างตนเป็นนบีคนนี้มากที่สุด?” อบูสุฟยานตอบว่า : ฉันกล่าวว่า “ผมคือคนที่มีสายตระกูลใกล้ชิดกับเขามากที่สุดครับ” เฮราคลิอัสจึงกล่าวว่า “ให้เขาเข้ามาใกล้ฉันสิ และให้สหายของเขาเข้ามาใกล้ด้วย แต่ให้พวกเขาอยู่ข้างหลัง” หลังจากนั้นเฮราคลิอัสก็ได้กล่าวกับล่ามแปลว่า “จงบอกกับพวกเขาว่า ‘ฉันจะถามเกี่ยวกับผู้ชายคนนี้ ถ้าเขาปฏิเสธฉัน พวกท่านก็ต้องปฏิเสธเขาด้วย’” (ท่านอบูสุฟยานได้กล่าวว่า) ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากไม่ใช่เพราะความละอายใจถ้าฉันถูกตีตราว่าเป็นคนโกหก ฉันคงโกหกเกี่ยวกับเขา (นบีมุฮัมหมัด) ไปแล้ว แล้วสิ่งแรกที่เขาถามฉันเกี่ยวกับมุฮัมหมัดก็คือ เขากล่าวว่า “ตระกูลของเขาในหมู่พวกท่านเป็นอย่างไรบ้าง?” ฉันตอบว่า “เขาเป็นคนที่มีวงศ์ตระกูล (ดี) ในหมู่พวกเราครับ” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่เคยอ้างอย่างนี้ (อ้างเป็นนบี) ก่อนหน้าเขาไหม?” ฉันตอบว่า “ไม่มีครับ” เฮราคลิอัสถามอีกว่า “บรรพบุรุษของเขามีใครที่เป็นกษัตริย์ไหม?” ฉันตอบว่า “ไม่มีครับ” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “คนที่ตามเขาเป็นชนชั้นนำหรือคนอ่อนแอ?” ฉันตอบว่า “เป็นคนอ่อนแอครับ” เฮราคลิอัสถามอีกว่า “พวกเขามีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง?” ฉันตอบว่า “เพิ่มขึ้นครับ” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “มีใครสักคนที่ผินหลังให้เพราะเกลียดชังศาสนาของเขา หลังจากที่ได้เข้าไปแล้วไหม?” ฉันตอบว่า “ไม่มีครับ” เฮราคลิอัสถามอีกว่า “พวกท่านเคยกล่าวหาว่าเขาเป็นคนโกหกก่อนที่เขาจะพูดในสิ่งที่อ้างไหม?” ฉันตอบว่า “ไม่เคยครับ” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “แล้วเขาเคยทรยศ (หรือละเมิดสัญญา) ไหม?” ฉันตอบว่า “ไม่เคยครับ แต่เรากำลังมีสัญญากับเขา ซึ่งเราไม่รู้ว่าเขาจะทำอะไรบ้างกับสัญญานี้” อบูสุฟยานได้กล่าวว่า “ฉันไม่สามารถใส่คำพูดไหนเข้าไปได้เลยนอกจากคำพูดนี้” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “พวกท่านเคยต่อสู้กับเขาไหม?” ฉันตอบว่า “เคยครับ” เขาถามอีกว่า “แล้วการต่อสู้ของพวกท่านกับเขาเป็นอย่างไรบ้าง?” ฉันตอบว่า “เรากับเขาผลัดกันชนะสงคราม บางครั้งเขาก็ชนะเรา และบางครั้งเราก็ชนะเขา” เฮราคลิอัสถามต่อว่า “เขาสั่งใช้อะไรพวกท่านบ้าง?” ฉันตอบว่า “เขากล่าวว่า ‘พวกท่านจงอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และอย่าตั้งภาคีใด ๆ ต่อพระองค์ และจงละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษกล่าว (สั่งสอน) เถิด เขาสั่งใช้ให้เราละหมาด, จ่ายซะกาต, พูดความจริง (ซื่อสัตย์), ดำรงตนอยู่ในความบริสุทธิ์ (โดยละทิ้งสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ) และเชื่อมความสัมพันธ์’”
แล้วเฮราคลิอัสก็กล่าวกับล่ามแปลว่า “จงบอกเขาไปว่า ‘ฉันถามท่านเกี่ยวกับสายตระกูลของเขา ท่านตอบว่า เขาเป็นคนที่มีวงศ์ตระกูล (ดี) ในหมู่พวกท่าน บรรดาเราะสูลก็เป็นเช่นนั้น พวกเขาถูกส่งมาในวงศ์ตระกูล (ที่ดี) ของกลุ่มชนของตนเอง, และฉันก็ถามท่านว่า มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่เคยอ้างอย่างนี้ (อ้างเป็นนบี) บ้างไหม? ท่านตอบว่าไม่มี หากมีใครสักคนก่อนหน้าเขาเคยกล่าวอ้างเช่นนั้น ฉันก็จะพูดว่า ผู้ชายก็ทำตามคนที่เคยพูดเหมือนเขาเท่านั้นเอง, และฉันก็ถามท่านว่า บรรพบุรุษของเขามีใครที่เป็นกษัตริย์บ้างไหม? ท่านตอบว่าไม่มี ฉันก็ขอพูดว่า หากบรรพบุรุษของเขามีคนที่เป็นกษัตริย์ เขาก็เป็นแค่ผู้ชายคนหนึ่งที่มาเรียกร้องอำนาจของบรรพบุรุษของเขาเท่านั้น, และฉันถามท่านอีกว่า พวกท่านเคยกล่าวหาว่าเขาเป็นคนโกหกก่อนที่เขาจะพูดในสิ่งที่อ้างไหม? ท่านตอบว่าไม่เคย ฉันก็มั่นใจว่า ถ้ากับมนุษย์เขายังไม่กล้าโกหกเลย เขาก็ไม่โกหกต่ออัลลอฮฺหรอก, และฉันถามท่านอีกว่า คนที่ตามเขาเป็นชนชั้นนำหรือคนอ่อนแอ? ท่านบอกว่าคนอ่อนแอ และคนอ่อนแอนี้แหละที่ (มักจะ) ตามบรรดาเราะสูล, และฉันถามท่านด้วยว่า พวกเขามีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง? ท่านก็บอกว่า พวกเขามีจำนวนเพิ่มขึ้น นั่นคือสภาพของศรัทธาจนกว่ามันจะสมบูรณ์, และฉันก็ถามท่านด้วยว่า มีใครสักคนที่ผินหลังให้เพราะเกลียดชังศาสนาของเขา หลังจากที่ได้เข้าไปแล้วไหม? ท่านตอบว่าไม่มี นั่นแหละคือความศรัทธาเมื่อความหอมหวานของมันได้เข้าไปสัมผัสกับหัวใจ, ฉันถามท่านอีกว่า เขาเคยทรยศ (หรือละเมิดสัญญา) บ้างไหม? ท่านตอบว่าไม่เคย บรรดาเราะสูลก็เป็นเช่นนั้น พวกเขาไม่ทรยศ (หรือผิดสัญญา), และฉันได้ถามท่านอีกว่า เขาสั่งใช้อะไรพวกท่านบ้าง? ท่านก็ตอบว่า เขาสั่งพวกท่านว่า จงอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และอย่าตั้งภาคีใด ๆ ต่อพระองค์ และเขาสั่งห้ามพวกท่านจากการอิบาดะฮฺต่อรูปเจว็ด และสั่งให้พวกท่านละหมาด, พูดความจริง (ซื่อสัตย์) และดำรงตนอยู่ในความบริสุทธิ์ (โดยละทิ้งสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ) หากสิ่งที่ท่านพูดเป็นความจริง เขาจะได้ปกครองอาณาจักรที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของฉันแน่นอน และฉันรู้ดีว่าเขาจะปรากฏออกมา เพียงแต่ฉันไม่คาดคิดว่าเขาจะมาจากพวกท่าน ถ้าฉันรู้ฉันจะไปพบเจอเขาให้ได้ แม้ว่าฉันจะต้องพบเจอกับความยากลำบากในการพบเจอเขาก็ตาม และเมื่อฉันได้อยู่ต่อหน้าเขาแล้ว ฉันจะล้างเท้าให้กับเขา’”
หลังจากนั้น เฮราคลิอัสก็ขอหนังสือ (จดหมาย) ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ท่านได้ส่งมาท่านดิหฺยะฮฺนำมามอบให้กับผู้ปกครองแห่งบุศรอ แล้วหนังสือดังกล่าวก็ถูกมอบให้กับเฮราคลิอัส และเขาก็อ่านมัน เนื้อในหนังสือดังกล่าวระบุว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ, จากมุฮัมหมัด บ่าวของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แก่เฮราคลิอัส (จักรพรรดิ) ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรม, ศานติจงมีแด่ผู้ที่ปฏิบัติตามทางนำ ฉันขอเชิญชวนท่านสู่การเชิญชวนของอิสลาม จงรับอิสลามเถิด แล้วท่านจะปลอดภัย อัลลอฮฺจะทรงประทานผลบุญตอบแทนแก่ท่านเป็น 2 เท่า แต่หากท่านผินหลังให้ ท่านก็ต้องแบกรับบาปของชาวอะรีสิยฺยาน (ประชาชนของท่าน) ด้วย และ (อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า) ‘จงกล่าวเถิด (มุฮัมหมัด) ว่า โอ้บรรดาชาวคัมภีร์! จงมาสู่ถ้อยคำหนึ่งที่เหมือนกันระหว่างเรากับพวกท่านเถิด คือการที่เราจะไม่เคารพภักดีใครนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถือบางคนเป็นบุคคลที่ได้รับการเทิดทูนบูชาอื่นจากอัลลอฮฺด้วย แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยเถิดว่า แท้จริงพวกเราคือชาวมุสลิม (ผู้ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ)’ (อาลิอิมรอน 3 : 64)” อบูสุฟยานได้กล่าวต่อว่า : เมื่อเฮราคลิอัสพูดในสิ่งที่เขาพูดและอ่านหนังสือ (จดหมาย) ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ความวุ่นวายและเสียงดังครึกโครมก็เกิดขึ้น กระทั่งพวกเราถูกเชิญออกไป ฉันได้กล่าวกับสหายของฉันตอนที่เราถูกเชิญออกมาว่า “ลูกชายอบูกับชะฮฺ (หมายถึง นบีมุฮัมหมัด) กลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขาแล้ว และกษัตริย์ของคนผิวเหลือง (คือ ชาวโรมัน) เองก็หวั่นเกรงเขาด้วย” และฉันเองก็เริ่มเชื่อมั่นว่ามุฮัมหมัดจะได้ประสบความสำเร็จ กระทั่งอัลลอฮฺได้นำฉันเข้าสู่อิสลาม
อิบนุนนาซูร ผู้ดูแลอีลิยาอ์และสหายของเฮราคลิอัส เขาคือหัวหน้าบาทหลวงของชาวคริสเตียนในแผ่นดินชาม เขาเล่าว่า : วันหนึ่งเฮราคลิอัสได้มาที่อีลิยาอ์ เขาดูกระวนกระวาย บาทหลวงบางคนจึงได้กล่าวว่า “เรารู้สึกว่าท่านไม่เหมือนปกติเลย” อิบนุนนาซูรกล่าวว่า : เฮราคลิอัสนั้นเป็นโหรที่ชอบสังเกตดูดวงดาว เขาได้กล่าวกับพวกบาทหลวงที่ถามเขาว่า “คืนหนึ่ง ขณะที่ฉันกำลังสังเกตดูดวงดาวทั้งหลายนั้น ฉันเห็นกษัตริย์ที่ทำคิตาน (ขลิบอวัยวะเพศ) ปรากฏตัวออกมาแล้ว แล้วใครกันที่ทำคิตานในประชาชาตินี้?” พวกเขาตอบว่า “ไม่มีใครที่ทำคิตานนอกจากชาวยิวเท่านั้น ท่านอย่าไปกังวลเกี่ยวกับพวกเขาเลย ท่านสามารถเขียนหนังสือ (จดหมาย) ส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรของท่าน แล้วสั่งฆ่าชาวยิวทั้งหมดในเมืองเหล่านั้นได้” ขณะที่พวกเขากำลังหารือกันอยู่กัน ผู้ชายคนหนึ่งที่กษัตริย์ฆ็อสสานส่งมาก็ได้เข้ามาหาเฮราคลิอัส เพื่อแจ้งข่าวเกี่ยวกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อเฮราคลิอัสรับทราบข้อมูลแล้ว เขาก็กล่าวว่า “พวกท่านจงเดินทางไป และดูสิว่าเขาเขาทำคิตานหรือไม่?” พวกเขาก็เดินทางไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และกลับมารายงานว่าเขา (นบีมุฮัมหมัด) ทำคิตานจริง เฮราคลิอัสก็ได้ถามเกี่ยวกับชาวอาหรับ (หมายถึง ชาวมุสลิม) เขาก็ตอบว่า “พวกเขาก็ทำคิตานเช่นกันครับ” เฮราคลิอัสจึงกล่าวขึ้นมาว่า “กษัตริย์ของประชาชาตินี้ได้ปรากฏตัวออกมาแล้ว”
หลังจากนั้นเฮราคลิอัสก็ได้เขียนหนังสือไปยังสหายของเขาที่กรุงโรม ซึ่งมีความรู้เทียบเท่ากับเขาเลย และเฮราคลิอุสก็ได้เดินทางไปที่เมืองฮอมส์ แต่ไม่ทันไปถึงเมืองฮอมส์ หนังสือจากสหายของเขาก็มาถึง เขามีความเห็นด้วยกับเฮราคลิอัสเรื่องการปรากฏตัวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และ (ยืนยันว่า) เขาเป็นนบีจริง ๆ แล้วเฮราคลิอัสก็ได้เรียกบรรดาผู้นำของชาวโรมันมาวังของเขาที่เมืองฮอมส์ จากนั้นเขาก็สั่งให้ปิดประตูทั้งหมด แล้วเขาก็ขึ้นยืนอยู่ที่สูงแล้วก็กล่าวว่า “โรมันชนทั้งหลาย พวกท่านปรารถให้ความสำเร็จและความถูกต้องอยู่กับพวกท่านไหม? และพวกท่านต้องการให้อำนาจของพวกท่านคงอยู่ต่อไปไหม? (ถ้าต้องการ) พวกท่านจงให้สัตยาบัน (ให้การยอมรับและภักดี) แก่นบีคนนี้เถิด” แต่แล้วพวกเขาก็วิ่งเยี่ยงลาเปลี่ยวไปยังประตูทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาพบว่ามันถูกล็อคไว้ เมื่อเฮราคลิอัสเห็นการวิ่งเตลิดของพวกเขา และสิ้นหวังว่าพวกเขาจะศรัทธา เขาก็พูดว่า “เรียกพวกเขากลับมาหาฉัน” แล้วเขาก็กล่าวว่า “แท้จริงสิ่งที่ฉันได้กล่าวไปนั้นเป็นเพียงการทดสอบความหนักแน่นในศาสนาของพวกท่านเท่านั้น และฉันได้เห็นแล้ว” พวกเขาก็สุญูดให้กับเขาและพึงพอใจเขา และนั่นคือเรื่องราวสุดท้ายเกี่ยวกับเฮราคลิอัส
ศอลิหฺ บินกัยสาน, ยูนุส และมะอฺมัร ได้รายงานหะดีษนี้จากอัซซุฮฺรีย์