หะดีษที่


1


การงานทั้งหลายขึ้นอยู่กับเจตนา

عَنْ عُمَرَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ { إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُوْلِهِ فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُوْلِهِ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيْبُهَا أَوِ امْرَأَةٍ يَنكِحُهَا، فَهِجْرَتُهُ إِلَى مَا هَاجَرَ إليهِ }
رَوَاهُ البُخَارِيُّ ومُسْلِمٌ


จากท่านอุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงการงานทั้งหลายขึ้นอยู่กับการเจตนา และแท้จริงแต่ละคนจะได้รับในสิ่งเขาได้เจตนาไว้ ดังนั้น ใครที่การอพยพของเขา (มีเจตนาเพื่อ) ไปสู่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ การอพยพของเขาก็ไปสู่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และใครที่การอพยพของเขา (มีเจตนา) เพื่อ โลกนี้ที่เขาอยากได้ หรือเพื่อผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็เป็นไปตามเจตนาที่เขาได้อพยพไป”

บันทึกโดยอัลบุ ...


อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


2


อิสลาม อีมาน อิหฺซาน

عَنْ عُمَرَ بْنِ الخَطَّاب رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : بَيْنَمَا نَحْنُ عِنْدَ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَاتَ يَوْمٍ، إِذْ طَلَعَ عَلَيْنَا رَجُلٌ شََدِيْدُ بَيَاضِ الثِّيَاب، شَدِيْدُ سَوَادِ الشَّعْرِ، لَا يُرَىَ عَلَيْهِ أَثَرُ السَّفَر، وَلَا يَعْرِفُهُ مِنَّا أَحَدٌ، حَتَّى جَلَسً إِلَى النَّبيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ، وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ وَقَالَ : يَا مُحَمَّدُ، أَخْبِرْنِيْ عَنِ الإِسْلَامِ، فَقَال رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { الإِسْلَامُ أَنْ تَشْْهَدَ أَنْ لَا إِلَهَ إلَّا اللَّهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللَّهِ، وَتُقِيْمَ الصَّلاَةَ، وَتُؤْتِيَ الزَّكَاةَ، وَتَصُوْمَ رَمَضَانَ، وَتَحُجَّ البَيْتَ إِنِ اسْتَطَعْتَ إِلَيْهِ سَبِيْلًا } قَالَ : صَدَقْتَ، قَالَ : فَعَجِبْنَا لَهُ يَسْأَلُهُ وَيُصَدِّقُهُ، قَالَ : فَأَخْبِرْنِيْ عَنِ الإِيْمَان، قَالَ { أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَاليَوْمَ الآخِرِ وَتُؤْمِنَ بِالقَدَرِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ } قَالَ : صَدَقْتَ، قَالَ : فَأَخْبِرْنِيْ عَنِ الإِحْسَانِ، قَالَ { أَنْ تَعْبُدَ اللَّهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ } قَالَ : فَأَخْبِرنِيْ عَنِ السَّاعَةِ، قَالَ { مَا المَسْؤُوْلُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنَ السَّائِل } قَالَ : فَأَخْبِرنِيْ عَنْ أَمَارَتِهَا، قَالَ { أَنْْ تَلِدَ الأَمَةُ رَبَّتَهَا، وَأَنْ تَرَى الحُفَاةَ العُرَاةَ العَالَةَ رِعَاءَ الشَّاءِ يَتَطَاوَلُوْنَ فِِي البُنْيَانِ } ثُمَّ انْطَلَقَ، فَلَبِثْتُ مَلِيًّا، ثُمَّ قَالَ لِي { يَا عُمَرُ، أتَدْرِيْ مَنِ السَّائِلُ؟ } قُلْتُ : اللَّهُ وَرَسُوْلُهُ أَعْلَمُ، قَالَ { فَإِنَّهُ جِبْرِيْلُ أَتَاكُمْ يُعَلِّمُكُمْ دِيْنَكُم } رواهُ مُسلِم

จากท่านอุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : วันหนึ่งขณะที่พวกเราอยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ชายคนหนึ่งก็ได้ปรากฏตัวแก่พวกเรา เขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ขาวมาก และผมก็ดำขลิบ ไม่เห็นมีร่องรอยของการเดินทาง และไม่มีใครเลยในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา กระทั่งเขาเข้ามานั่งใกล้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม โดยที่หัวเข่าของเขาชนกับหัวเข่าของท่านนบี และเขาก็วางมือของเขาบนขาอ่อนของท่านนบี แล้วกล่าวว่า “โอ้มุฮัมหมัด จงบอกฉันเกี่ยวกับอิสลาม” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัล ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


3


อิสลามถูกสร้างขึ้นบน 5 หลัก

عَنْ عَبْدُ اللّهِ بْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { بُنِيَ الإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شََهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّه، وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ، وَإِيْتَاءِ الزّكَاةِ، وَحَجِّ البَيْتِ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ } رَوَاهُ البُخَارِي وَمُسْلِمٌ

จากอับดุลลอฮฺ บินอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า : ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “อิสลามถูกสร้างขึ้นบน 5 หลัก (ได้แก่) การปฏิญาณตนว่า 'ไม่มีพระเจ้า (ที่แท้จริง) อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดคือบ่าวและเราะสูล (ศาสนทูต) ของพระองค์, การดำรงละหมาด, การจ่ายซะกาต, การทำหัจญ์ที่บัยตุลลอฮฺ และการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 8) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 16) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


4


4 ประการที่ถูกกำหนดแก่มนุษย์

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْْهُ قَالَ : حَدَّثَنَا رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ الصَّادِقُ المَصْدُوْقُ { إِنَّ أحَدَكُمْ يُجْمَعُ خَلْقُهُ فِيْ بَطْنِ أُمِّهِ أَرْبَعِيْنَ يَوْمًا نُطْفَة، ثُمَّ يَكُوْنُ عَلَقَةً مِثْلَ ذَلِكَ، ثُمَّ يَكُوْنُ مُضْغَةً مِثْلَ ذَلِكَ، ثُمَّ يُرْسَلُ اللَّهُ إِلَيْهِ المَلَك، فَيَنْفُخُ فِيْهِ الرُّوْحَ، وَيُؤْمَرُ بِأَرْبَعِ كَلِمَاتٍ : بِكَتْبِ رِزْقِهِ وَعَمَلِهِ وَأَجَلِهِ، وَشَقِيٌّ أَوْ سَعِيْدٌ، فَوَالَّذِيْ لَا إِلَهَ غَيْرُهُ إِنَّ أَحَدَكُم لَيَعْمَلُ بِعَمَلِ أَهْلِ الجَنَّةِ حَتَّى مَا يَكُوْنَ بَيْنَهُ وَبَيْنَهَا إِلَّا ذِرَاعٌ، فَيَسْبِقُ عَلَيْهِ الكِتَابُ فَيَعْمَلُ بِعَمَلِ أَهْلِ النَّارِ فَيَدْخُلُهَا، وَإِنَّ أَحَدَكُمْ لَيَعْمَلُ بِعَمَلِ أَهْلِ النَّارِ حَتَّى مَا يَكُوْنَ بَيْنَهُ وَبَيْنَهَا إِلَّا ذِرَاعٌ، فَيَسْبِقُ عَلَيْهِ الكِتاَبُ، فَيَعْمَلُ بِعَمَلَ أَهْلِ الجَنَّةِ فَيَدْخُلُها } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินมัสอู๊ด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านคือผู้สัตย์จริงและได้รับการยอมรับในความสัตย์จริง ได้รายงานแก่พวกเราว่า "แท้จริงแต่ละคนในหมู่พวกท่านได้ถูกรวบรวมเป็นรูปร่างขึ้นมาในมดลูกของแม่เป็นเวลา 40 วัน ในรูปของนุฏฟะฮฺ (น้ำข้น ๆ) หลังจากนั้นก็กลายเป็นก้อนเลือดในระยะเวลาเดียวกัน (40 วัน) หลังจากนั้นก็กลายเป็นก้อนเนื้อในช่วงระยะเวลาเดียวกันอีก (40 วัน) แล้วอัลลอฮฺก็ส่งมลาอิกะฮฺมายังเขา มะลาอิกะฮฺก็ได้เป่าวิญญาณ (รูหฺ) เข้าไปในร่างของเ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


5


การอุตริสิ่งใหม่ในศาสนา

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا قَالَتْ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ، وَفِيْ رِوَايَةٍ لِمُسْلِمٍ { مَنْ عَمِلَ عَمَلًا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنا فَهُوَ رَدٌّ } هَذَا الحَدِيْثُ خَرَّجَاهُ فِي الصَّحِيْحَيْنِ

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ใครที่อุตริในกิจการ (ศาสนา) ของเรานี้ ที่เราไม่ได้สั่งใช้ สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม และในรายงานของมุสลิม ระบุว่า “ใครที่กระทำการงานใดการงานหนึ่งที่ไม่มีคำสั่ง (ศาสนา) ของเรา การงานนั้นย่อมถูกปฏิเสธ” หะดีษนี้มีบันทึกในหนังสือเศาะฮีหฺทั้งสอง (อัลบุครีย์ หะดีษเลขที่ 2697 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1718) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


6


ออกห่างจากสิ่งคลุมเครือ

عَنِ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيْرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { إِنَّ الحَلَالَ بَيِّنٌ وَإِنَّ الحَرَامَ بَيِّنٌ، وَبَيْنَهُمَا أُمُوْرٌ مُشْتَبِهَاتٌ، لَا يَعْلَمُهُنَّ كَثِيْرٌ مِنَ النَّاسِ، فَمَنِ اتَّقَى الشُّبُهَاتِ اسْتَبْرَأَ لِدِيْنِهِ وَعِرْضِهِ، وَمَنْ وَقَعَ فِي الشُّبُهَاتِ وَقَعَ فِي الحَرَام، كَالرَّاعِي يَرْعَى حَوْلَ الحِمَى يُوْشِكُ أَنْ يَرْتَعَ فِيْهِ، أَلَا وَإِنَّ لِكُلِّ مَلِكٍ حِمىً، أَلَا وَإِنَّ حِمَى اللَّهِ مُحَارِمُهُ، أَلَا وَإِنَّ فِي الجَسَدِ مُضغَةً إِذَا صَلَحَتْ صَلَحَ الجَسَدُ كُلُّهُ، وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الجَسَدُ كُلُّهُ، أَلَا وَهِيَ القَلبُ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอันนุอฺมาน บินบะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า : ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) นั้นชัดแจ้ง และสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) ก็ชัดแจ้ง และระหว่างทั้งสองนั้น มีสิ่งต่าง ๆ ที่คลุมเครือ (ชุบุฮาต) ซึ่งคนส่วนมากไม่รู้ ดังนั้น ใครป้องกันตัวเองจากสิ่งที่คลุมเครือทั้งหลาย เขาก็ได้ปกป้องศาสนาและเกียรติของเขา (ให้ปลอดมลทิน) และใครที่ตกลงไปในสิ่งที่คลุมเครือ เขาก็ได้ตกลงไปในเรื่องที่ต้องห้าม (หะรอม) เปรียบเสมือนผู้ที่เลี้ยงปศุสัตว์อยู่รอบ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


7


ศาสนาคือนะศีหะฮฺ

عَنْ تَميْمٍ الدَّارِيّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { الدِّيْنُ النَّصِيْحَةُ } ثلاثًا، قُلْْنَا: لِمَنْ يَا رَسُوْلَ اللَّهِ؟ قَالَ { لِلَّهِ وَلِكِتَابِهِ وَلِرَسُوْلِهِ وَلِأَئِمَّةِ المُسْلِمِيْنَ وَعَامَّتِهِمْ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านตะมีม อัดดารีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ศาสนาคือนะศีหะฮฺ” (ความจริงใจ, ความปรารถนาดี, การตักเตือน) 3 ครั้ง พวกเราถามว่า “เพื่อใครครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ?” ท่านนบีตอบว่า “เพื่ออัลลอฮฺ, เพื่อคัมภีร์ของพระองค์, เพื่อเราะสูลของพระองค์, เพื่อบรรดาผู้นำของชาวมุสลิม และเพื่อชาวมุสลิมทั่วไป” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 55) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


8


ฉันถูกสั่งมาเพื่อต่อสู้กับมนุษย์

عَنْ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُمَا : أَنَّ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { أُمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتَّى يَشْهَدُوا : أَنْ لاَ إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ، وَأَنّ مُحَمَّداً رَسُوْلُ اللَّهِ، وَيُقِيْمُوا الصَّلَاةَ، وَيُُؤْتُوا الزَّكَاةَ، فَإِذَا فَعَلُوْا ذَلِكَ، عَصَمُوا مِنِّي دِمَاءَهُمْ وَأَمْوَالَهُمْ إِلَّا بِحَقِّ الإِسْلَامِ، وَحِسَابُهُم عَلَى اللَّه تَعَالَى } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุ ตะอาลา อันฮุมา ว่า : ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ฉันถูกสั่งมาเพื่อต่อสู้กับมนุษย์ จนกว่าพวกเขาจะปฏิญาณว่า 'ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) และมุฮัมมะดัร เราะสูลุลลอฮฺ (มุฮัมหมัดคือเราะสูลของอัลลอฮฺ)' และ (จนกว่า) พวกเขาจะดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต เมื่อพวกเขาทำสิ่งดังกล่าวแล้ว เลือดเนื้อและทรัพย์สินของพวกเขาก็จะได้รับการคุ้มครองจากฉัน นอกจากด้วยสิทธิของอิสลาม (คือเมื่อพวกเขากระทำผิดที่ต้องถูกลงโทษ) ส่ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


9


การตอบสนองต่อคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของท่านนบี

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { مَا نَهَيْتُكُمْ عَنْهُ فَاجْتَنِبُوْهُ، وَمَا أَمَرْتُكُمْ بِهِ فَأتُوْا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ، فَإِنَّمَا أَهْلَكَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ كَثْرَةُ مَسَائِلِهِمْ وَاخْتِلَافُهُمْ عَلَى أَنْبِيَائِهِمْ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “สิ่งใดที่ฉันได้ห้ามพวกท่านไว้ ก็จงออกห่างมันเถิด และสิ่งใดที่ฉันสั่งใช้พวกท่าน ก็จงปฏิบัติมันเท่าที่พวกท่านสามารถ แท้จริงแล้วสิ่งที่ทำให้คนก่อนหน้าพวกท่านต้องพินาศก็คือ การถามซักไซ้ (ที่มากเกินไป) ของพวกเขา และการขัดแย้ง (ไม่เชื่อฟัง) บรรดานบีของพวกเขา” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 7688) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 1337) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


10


สาเหตุที่ดุอาอ์ไม่ถูกตอบรับ

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { إِنَّ اللَّهَ طَيِّبٌ لَا يَقْبَلُ إِلَّا طَيِّبًا، وَإِنَّ اللَّهَ تَعَالَى أَمَرَ المُؤْمِنِيْنَ بِمَا أَمَرَ بِهِ المُرْسَلِيْنَ، فَقَالَ { يَاأَيُّهَا الرُّسُلُ كُلُوا مِنَ الطَّيِّبَاتِ وَاعْمَلُوا صَالِحًا } [المؤمنون: ٥١]، وَقَالَ تَعَالَى { يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُلُوا مِنْ طَيِّبَاتِ مَا رَزَقْنَاكُمْ } [البقرة: ١٧٢] ثُمَّ ذَكَرَ الرَّجُلَ يُطِيْلُ السَّفَرَ أَشْْعَثَ أغْبَرَ، يَمُدُّ يَدَيْهِ إِلَى السَّمَاءِ يَا رَبِّ يَا رَبِّ، وَمَطْعَمُهُ حَرَامٌ، وَمَشْْرَبُهُ حَرَامٌ، وَمَلْبَسُهُ حَرَامٌ، َوغُذِيَ بِالحَرَامٌ، فَأَنَّى يُسْتَجَابُ لِذَلِكَ؟ } رواهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นดี พระองค์ไม่ทรงรับสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ดี และแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาในสิ่งเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงสั่งใช้บรรดาเราะสูล พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า 'โอ้เราะสูลทั้งหลาย จงบริโภคจากสิ่งที่ดีและจงกระทำความดีเถิด' (อัลมุอ์มินูน 23 : 51) และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า 'โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริโภคจากสิ่งที่ดี ที่เราได้ประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าเถิด' (อัลบะเก ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


11


จงละทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านสงสัย

عَنِ الحَسَنِ بِنِ عَلِيّ سِبْطِ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَرَيْحَانَتِهِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : حَفِظْتُ مِنْ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { دَعْ مَا يَرِيْبُكَ إِلَى مَا لَا يَرِيْبُكَ } رَوَاهُ النَّسَائِي وَالتِّرْمِذِيُّ، وَقَالَ : حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านอัลหะสัน บินอลี หลานชายของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และผู้ที่รักยิ่งของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้กล่าวว่า : ฉันได้ท่องจำ (คำพูด) จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า "จงละทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านสงสัย (คลางแคลงใจ) แล้วยึดเอาสิ่งที่ไม่ทำให้ท่านสงสัย (คลางแคลงใจ) แทน” บันทึกโดยอันนะสาอีย์ (หะดีษเลขที่ 5711) และอัตติรมิซีย์ (หะดีษเลขที่ 2518) และอัตติรมิซีย์ได้กล่าวว่า : เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


12


ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเอง

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : عَنِ النَّبِيَِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { مِنْ حُسْنِ إِسْلاَمِ المَرْءِ تَرْكُهُ مَا لَا يَعْنِيْهِ } حَدِيْثٌ حَسَنٌ، رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَغَيْرُهُ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งจากความดีงามของอิสลามในตัวคน ๆ หนึ่ง คือการที่เขาละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเขา” หะดีษหะสัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ (หะดีษเลขที่ 2317) และคนอื่น ๆ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


13


รักพี่น้องเช่นเดียวกับที่รักตัวเอง

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { لَا يُؤمِنُ أحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะยังไม่ศรัทธา (โดยสมบูรณ์) จนกว่าเขาจะรักพี่น้องของเขาเช่นเดียวกับที่เขารักตัวเขาเอง” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 13) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 45) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


14


3 สาเหตุที่อนุมัติให้หลั่งเลือดมุสลิมได้

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { لَا يَحِلُّ دَمُ امْرِئٍ مُسْلِمٍ إِلَّا بِإِحْدَى ثَلِاث : الثَّيِّبُ الزَّانِي، وَالنَّفْسُ بِالنَّفْسِ، وَالتَّارِكُ لِدِيْنِهِ المُفَارِقُ لِلجَمَاعَةِ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินมัสอู๊ด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “เลือดของมุสลิมคนหนึ่งไม่เป็นที่อนุมัติ (คือห้ามละเมิด) นอกจาก 1 ใน 3 สาเหตุ (ได้แก่) ผู้แต่งงานที่ผิดประเวณี, การชดใช้ชีวิตด้วยชีวิต (คือ การลงโทษประหารชีวิตฆาตกร) และผู้ที่ละทิ้งศาสนาของเขา โดยแยกออกจากประชาคมมุสลิม” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 6878) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 1676) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


15


ใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ จงทำสิ่งเหล่านี้

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ عَنْ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ، فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ، فَليُكْرِمْ جَارَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ، فَليُكْرِمْ ضَيْفَهُ } رَوَاهَ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงพูดแต่สิ่งที่ดีหรือไม่ก็นิ่งเงียบเสีย และใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงให้เกียรติเพื่อนบ้านของเขา และใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงให้เกียรติแขกของเขา” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 6018, 6136 และ 6375) และมุสลิม (บันทึกโดย 47) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


16


อย่าโมโห

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : أنَّ رَجُلًا قَالَ لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَوْصِنِي، قَالَ { لَا تَغْضَبْ } فَرَدَّدَ مِرَارًا، قَالَ { لاَ تَغْضَبْ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า : ชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า "โปรดสั่งเสีย (สอนบางอย่าง) แก่ผมเถิด" ท่านนบีก็ตอบว่า "อย่าโมโห" ชายคนนั้นก็กล่าวซ้ำหลายครั้ง ท่านนบีก็ตอบว่า "อย่าโมโห" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 6116) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


17


อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้กระทำดีต่อทุกสิ่ง

عَنْ أَبِيْ يَعْلَى شََدَّاد بْنِ أَوْس : عَنْ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { إِنَّ اللَّهَ كَتَبَ الإِحْسَانَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ، فَإِذَا قَتَلْتُمْ فَأَحْسِنُوا القِتْلَة، وَإِذَا ذَبَحْتُمْ فَأَحْسِنُوا الذِّبْحَةَ، وَلْيُحِدَّ أَحَدُكُمْ شَفْرَتَهُ، وَلْيُرِحْ ذَبِيْحَتَهُ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูยะอฺลา ชัดด๊าด บินเอาสฺ : จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงบัญญัติให้กระทำดีต่อทุกสิ่ง ดังนั้น เมื่อพวกท่านจะฆ่า ก็จงฆ่าด้วยดี และเมื่อพวกท่านจะเชือด ก็จงเชือดให้ดี และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจงลับมีดของเขาให้คม และจงให้สัตว์เชือดของเขารู้สึกผ่อนคลาย” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 1955) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


18


ความยำเกรง การทำความดีลบล้างความชั่ว และจรรยามารยาทที่ดีงาม

عَنْ أَبِيْ ذَرٍّ وَمُعَاذِ بْنِ جَبَلٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُما، أَنَّ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { اتَّقِ اللَّهَ حَيْثُمَا كُنْتَ، وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الحَسَنَةَ تَمْحُهَا، وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ } رَوَاهُ التَّرْمِذِيُّ وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ، وَفِيْ بَعْضِ النُّسَخِ : حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านอบูซัรรฺ และท่านมุอ๊าซ บินญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใดก็ตาม และจงตามหลังความชั่วด้วยการทำดี (ชดใช้) ความดีนั้นลบล้างความชั่วได้ และจงปฏิสัมพันธ์กับผู้คนกริยามารยาทที่ดีงาม” บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ (หะดีษเลขที่ 1987) โดยที่อัตติรมิซีย์ได้กล่าวว่า : เป็นหะดีษหะสัน และในบางฉบับระบุว่า : เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


19


จงพิทักษ์รักษาอัลลอฮฺ แล้วพระองค์จะทรงพิทักษ์รักษาท่าน

عَنْ عَْبدِ اللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : كُنْتُ خَلفَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ { يَا غُلَامُ إِنِّي أُعِلِّمُكَ كَلِمَاتٍ : اِحْفَظِ اللَّهَ يَحْفَظْكَ، اِحْفَظِ اللَّهَ تَجِدْهُ تُجَاهَكَ، إِذَا سَأَلْتَ فَاسْأَلِ اللّه، وَإِذَا اسْتَعنْتَ فَاسْتَعِنْ بِاللَّهِ، وَاعْلَمْ أَنَّ الأُمَّةَ لَوِ اجْتَمَعَتْ عَلَى أَنْ يَنْفَعُوْكَ بِشَيْءٍ، لَمْ يَنْفَعُوْكَ إِلَّا بِشَيْءٍ قَدْ كَتَبَهُ اللَّهُ لَكَ، وَإِنِ اجْتَمَعُوْا عَلَى أَنْ يَضُرُّوْكَ بِشَيْءٍ، لَمْ يَضُرُّوْكَ إِلَّا بِشَيْءٍ قَدْ كَتَبَهُ اللَّهُ عَلَيْكَ، رُفِعَتِ الأَقْلَامُ وَجَفَّتِ الصُّحُفُ } رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ، وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ وَفِيْ رِوَايَةِ غَيْرِ التِّرْمِذِي { اِحْفَظِ اللَّهَ تَجِدْهُ أَمَامَكَ، تَعَرَّفْ إِلَى اللَّهِ فِي الرَّخَاءِ يَعْرِفْكَ فِي الشِّدَّةِ، وَاعْلَمْ أَنَّ مَا أَخَطَأَكَ لَمْ يَكُن لِيُصِيْبَكَ، وَمَا أَصَابَكَ لَمْ يَكُن لِيُخْطِئَكَ، وَاعْلَمْ أَنَّ النَّصْرَ مَعَ الصَّبْرِ، وَأَنَّ الفَرَجَ مَعَ الكَرْبِ، وَأَنَّ مَعَ العُسْرِ يُسرًا } رَوَاهُ أَحْمَدُ وَأَبُوْ يَعْلَى

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า : ฉันเคยอยู่ด้านหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “เจ้าเด็กน้อย ฉันจะสอนคำพูดบางอย่างแก่เจ้า (คือ) เจ้าจงพิทักษ์รักษาอัลลอฮฺ แล้วพระองค์จะทรงพิทักษ์รักษาเจ้า เจ้าจงพิทักษ์รักษาอัลลอฮฺ แล้วเจ้าจะพบพระองค์อยู่ต่อหน้าเจ้า (คือ ช่วยเหลือเจ้า), เมื่อเจ้าจะวิงวอน เจ้าก็จงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ และเมื่อเจ้าจะขอความช่วยเหลือ ก็จงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺ และจงรู้ไว้เถิดว่า หากมนุษยชาติทั้งหมดได้ร่วมมือกันเพื่อให้คุณใด ๆ แ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


20


ถ้าไม่อาย ก็ทำตามที่ต้องการเถิด

عَنْ أَبِيْ مَسْعُودٍ البَدْرِيِّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلَامِ النُّبُوَّةِ الأُوْلَى : إِذَا لَمْ تَسْتَحْيِ، فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ

จากท่านอบูมัสอูด อัลบัดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ได้รับรู้มาจากคำพูดของบรรดานบียุคก่อนก็คือ (คติที่ว่า) ถ้าท่านไม่อาย ก็ทำตามที่ท่านต้องการเถิด” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 3483, 3484 และ 6120) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


21


จงกล่าวว่า ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮฺ จากนั้นจงยืนหยัดให้มั่นคง

عَنْ سُفْيَانَ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قُلْتُ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ، قُلْْ لِي فِي الإِسْلَامِ قَوْلًا لَا أَسْأَلُ عَنْهُ أَحَدًا غَيْرََكَ، قَالَ { قُلْْ آمَنْتُ بِاللّهِ، ثُمَّ اسْتَقِمْ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านสุฟยาน บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้กล่าว (กับท่านเราะสูล) ว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ โปรดบอกผมเกี่ยวกับอิสลามด้วยคำกล่าว (คำสอน) ที่ผมไม่ต้องถามใครอื่นอีกนอกจากท่าน” ท่านเราะสูลก็ได้กล่าวว่า “จงกล่าวว่า ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮฺ จากนั้นจงยืนหยัดให้มั่นคง” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 38) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


22


ทำสิ่งเหล่านี้ แล้วจะได้เข้าสวรรค์

عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا : أَنَّ رَجُلًا سَألَ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : أَرَأَيْتَ إِذَا صَلَّيْتُ المَكْتُوْبَاتِ، وَصُمْتُ رَمَضانَ، وَأَحْلَلْتُ الحَلَالَ، وَحَرَّمْتُ الحَرَامَ، وَلَمْ أَزِدْ عَلَى ذَلِكَ شَيْئًا، أَأَدْخُلِ الجَنَّةَ؟، قَالَ { نَعَمْ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากอท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า : ชายคนหนึ่งได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลัม โดยกล่าวว่า “ท่านคิดเห็นอย่างไร เมื่อผมได้ละหมาดที่ถูกกำหนด (เป็นฟัรฎู 5 เวลา), ผมได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน, ผมอนุมัติสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล), ผมห้ามสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) และผมไม่เพิ่มเติมสิ่งใดจากนั้นเลย ผมจะได้เข้าสวรรค์ไหม?” ท่านเราะสูลตอบว่า “ใช่แล้ว” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 15) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


23


ความดีงามต่าง ๆ

عَنْ أَبِيْ مَالِكٍ الأَشْْعَرِيّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { الطُّهُوْرُ شَطْرُ الإِيْمَانِ، وَالحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلَأُ المِيْزَانَ، وَسُبْحَانَ اللَّهِ، وَالحَمْدُ لِلَّهِ، تَمْلَآنِ أَوْ تَمْلَأُ مَا بَيْنَ السَّمَاوَاتِ وَالأرْْضِ، وَالصَّلَاةُ نُوْرٌ، وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ، وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ، وَالقُرْآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيْكَ، كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو، فَبَائِعٌ نَفْسَهُ، فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوْبِقُهَا } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูมาลิก อัลอัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "ความสะอาดคือครึ่งหนึ่งของความศรัทธา, (การกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺว่า) "อัลหัมดุลิลลาฮฺ" (มวลการสรรเสริญเป็นของอัลออฮฺ) จะเติมเต็มตราชั่ง (ในวันกิยามะฮฺ) และ (การกล่าวว่า) "สุบหานัลลอฮฺ" (มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ) และ "อัลหัมดุลิลลาฮฺ" (มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ) ทั้งสองหรือแต่ละประโยคนั้นจะเติมเต็ม (ผลบุญ) ระหว่างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน, การละหมาดคือรัศมี, การบริจาคทานคือหลักฐาน, ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


24


โอ้ปวงบ่าวของข้า

عَنْ أَبِيْ ذَرٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِيْمَا يَرْوِيْ عَنْ رَبِّهِ عَزَّ وَجَلَّ أَنَّهُ قَالَ { يَا عِبَادِيْ إِنِّيْ حَرَّمْتُ الظُّلْمَ عَلَى نَفْسِي، وَجَعَلْتُهُ بَيْنَكُمْ مُحَرَّمًا فَلَا تَظَالَمُوْا، يَا عِبَادِيْ كُلُّكُم ضَالٌّ إِلَّا مَنْ هَدَيْتُهُ فَاسْتَهْدُوْنِي أَهْدِكُمْ، يَا عِبَادِيْ كُلُّكُمْ جَائِِعٌ إِلَّا مَنْ أَطْعَمْتُهُ فَاسْتَطْعَمُوْنِي أَطْعِمْكُمْ، يَا عِبَادِيْ كُلُّكُمْ عَارٍ إِلَّا مَنْ كَسَوْتُهُ فَاسْتَكْسُوْنِيْ أَكْسِكُمْ، يَا عَبَادِيْ إِنَّكُمْ تُخْطِئُوْنَ بِاللَّيْلِ وَالنَّهَارِ، وَأَنَا أَغْفِرُ الذُّنُوْبَ جَمِيْعًا، فَاسْتَغفِرُوْنِيْ أَغْفِرْ لَكُمْ، يَا عِبَادِيْ إِنَّكُمْ لَنْ تَبْلُغُوْا ضَرِّيْ فَتَضُرُّوْنِيْ، وَلَنْ تَبْلُغُوا نَفْعِيْ فَتَنْفَعُوْنِيْ، يَا عِبَادِيْ لَوْ أَنَّ أوَّلَكُمْ وَآخِرَكُمْ وَإِنْسَكُمْ وَجِنَّكُمْ كَانُوا عَلَى أَتْقَى قَلْبِ رَجُلٍ وَاحِدٍ مِنْكُم، مَا زَادَ ذَلِكَ فِيْ مُلْكِيْ شَيْئًا، يَا عِبَادِيْ لَوْ أَنَّ أَوَّلَكُمْ وَآخِرَكُمْ وَإِنْسَكُمْ وَجِنَّكُمْ كَانُوْا عَلَى أَفْجَرِ قَلْبِ رَجُلٍ وَاحِدٍ مِنْكُمْ، مَا نَقَصَ ذَلِكَ مِنْ مُلْكِيْ شَيْئًا، يَا عِبَادِيْ لَوْْ أَنَّ أوَّلَكُمْ وَآخِرَكُمْ وَإِنْسَكُمْ وَجِنَّكُمْ قَامُوْا فِيْ صَعِيْدٍ وَاحِدٍ فَسَأَلُوْنِيْ فَأَعْطَيْتُ كُلَُّ إِنْسَانٍ مَسْأَلَتَهُ، مَا نَقَصَ ذِلِكَ مِمَّا عِنْدِي إِلَّا كَمَا يَنْقُصُ المِخْيَطُ إِذَا أُدْخِلَ البَحْرَ، يَا عِبَادِيْ إِنَّمَا هِيَ أَعْمَالُكُمْ أُحْصِيْهَا لَكُمْ، ثُمَّ أُوَفَّيْكُمْ إِيَّاهَا، فَمَنْ وَجَدَ خَيْرًا فَلْيَحْمَدِ اللَّهَ، وَمَنْ وَجَدَ غَيْرَ ذَلِكَ فَلَا يَلُوْمَنَّ إِلَّا نَفْسَهُ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูซัรรฺ อัลฆิฟารีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตามที่ท่านได้รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่าน ผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง ได้ตรัสว่า “โอ้ปวงบ่าวของข้า ข้าได้ห้ามการอธรรมต่อตัวข้าเอง และข้าได้ทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามระหว่างพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าอย่าได้อธรรมต่อกันเด็ดขาด โอ้ปวงบ่าวของข้า พวกเจ้าทั้งหลายเป็นผู้หลงผิด นอกจากผู้ที่ข้าได้ให้ทางนำแก่เขา ดังนั้น พวกเจ้าจงขอทางนำจากข้าเถิด แล้วข้าจะนำทางพวกเจ้า โอ้ปวงบ่าวของข้า พวกเจ้าทั้งหลายเป็นผู้หิวโหย นอกจากผู้ที่ข้ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


25


หลากหลายรูปแบบการบริจาคทาน (1)

عَنْ أَبِيْ ذَرٍّ رَضِي اللَّهُ عَنْهُ : أَنَّ نَاسًا مِنْ أَصْحَابِ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالُوْا لِلنَّبيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ ذَهَبَ أَهْلُ الدُّثُوْرِ بِالأُجُوْرِ، يُصَلُّوْنَ كَمَا نُصَلِّي، وَيَصُوْمُوْنَ كَمَا نَصُوْمُ، وَيَتَصَدَّقُوْنَ بِفُضُولِ أَمْوَالِهمْ، قَالَ { أَوَلَيْسَ قَدْ جَعَلَ اللَّهُ لَكُمْ مَا تَصَّدَّقُونَ؟ إِنَّ بِكُلِّ تَسْبِيْحَةٍ صَدَقَةً، وَكُلِّ تَكْبِيْرَةٍ صَدَقَةً، وَكُلِّ تَحْمِيْدَةٍ صَدَقَةً، وَكُلِّ تَهْلِيْلَةٍ صَدَقَةً، وَأَمْرٌ بِالمَعْرُوْفِ صَدَقةٌ، وَنَهْيُ عَنْ مُنْكَرٍ صَدَقَةٌ، وَفِيْ بُضْعِ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ } قَالُوْا : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ، أَيَأْتِيْ أَحَدُناَ شَهْوَتَهُ وَيَكُوْنُ لَهُ فِيْهَا أَجْرٌ؟، قَالَ { أَرَأَيْتُمْ لَوْ وَضَعَهَا فِي الحَرَامِ، أَكَانَ عَلَيْهِ وِزْرٌ؟ فَكَذَلِكَ إِذَا وَضَعَها فِي الحَلَالِ كَانَ لَهُ أَجْرٌ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูซัรรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า : คนกลุ่มหนึ่งในหมู่เศาะหาบะฮฺสของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับท่านนนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า "ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ พวกคนรวยได้เอาผลบุญไปมากมายแล้ว พวกเขาละหมาดเหมือนกับที่ละหมาด เขาถือศีลอดเหมือนกับที่เราถือศีลอด แต่พวกเขาได้บริจาคทานด้วยทรัพย์สินที่ล้นเหลือของพวกเขา (แต่พวกเราไม่มีทรัพย์สินให้บริจาคเลย)" ท่านนบีก็ได้ตอบว่า "อัลลอฮฺมิได้ให้สิ่งที่สามารถใช้บริจาคแก่พวกท่านหรือ? แท้จริงแล้วทุกการตัสบีหฺ (การกล่าว "สุบ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


26


หลากหลายรูปแบบการบริจาคทาน (2)

عَنْ أَبِيْ هُرَيرةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { كُلُّ سُلَامَى مِنَ النَّاسِ عَلَيْهِ صَدَقةٌ كُلَّ يَوْمٍ تَطْلُعُ فِيْهِ الشَّمْسُ : تَعْدِلُ بَيْنَ الاثْنَيْنِ صَدَقَةٌ، وَتُعِيْنُ الرَّجُلَ فِي دَابَّتِهِ فَتَحْمِلُهُ عَلَيْهَا أَوْ تَرْفَعُ لَهُ عَلَيْهَا مَتَاعَهُ صَدَقةٌ، وَالكَلِمَةُ الطَّيِّبَةُ صَدَقةٌ، وَبِكُلِّ خُطْوَةٍ تَمْشِيْهَا إِلَى الصَّلَاةِ صَدَقةٌ، وَتُمِيْطُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيْقِ صَدَقةٌ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ทุกข้อต่อของมนุษย์จะต้องบริจาคทานในทุก ๆ วันที่มีดวงอาทิตย์ขึ้น การที่ท่านให้ความเป็นธรรมระหว่าง 2 คน (ที่ขัดแย้งกัน) นั้นถือเป็นการบริจาคทาน, การช่วยเหลือชายคนหนึ่งในเรื่องสัตว์พาหนะของเขา โดยที่ท่านพยุงให้เขาขึ้นขี่มันได้ หรือช่วยยกสัมภาระขึ้นไปบนมันก็เป็นการบริจาคทานเช่นกัน, คำพูดที่ดีก็เป็นการบริจาคทาน, ทุกย่างก้าวที่ท่านเดินไปสู่การละหมาดก็เป็นการบริจาคทาน และการขจัดสิ่งที่เป็นอั ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


27


นิยามของความดีและความชั่ว

عَنِ النَّوَّاسِ بْنِ سَمْعَانَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { البِرُّ حُسْنُ الخُلُقِ، وَالإِثْمُ مَا حَاكَ فِيْ نَفْسِكَ، وَكَرِهْتَ أَنْ يَطَّلِعَ عَلَيْهِ النَّاسُ } رواهُ مسلمٌ وَعَنْ وَابِصَةَ بْنِ مَعْبَدٍ قَالَ : أَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ { جِئْتَ تَسْأَلُ عَنِ البِرِّ وَالإِثْمِ؟ } قُلْتُ : نَعَمْ، قال { استَفْتِ قَلْبَكَ، البِرُّ مَا اطْمَأَنَّتْ إِلَيْهِ النَّفْسُ، وَاطْمَأَنَّ إِلَيْهِ القَلْبُ، وَالإِثْمُ مَا حَاكَ فِي النَّفْسِ، وَتَرَدَّدَ فِي الصَّدْرِ، وَإِنْ أَفْتَاكَ النَّاسُ وَأَفْتُوْكَ } رَوَاهُ أَحْمَدُ وَالدَّارِمِيْ وَأَبُوْ يَعْلَى

จากท่านอันเนาวาส บินสัมอาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ความดีคือการมีอัคลาค (อุปนิสัยและจรรยามารยาท) ที่ดีงาม ส่วนความชั่วนั้นคือสิ่งที่ทำให้ท่านอึดอัดใจ และท่านไม่ชอบให้ใครรู้เห็นสิ่งนั้น” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 2553) และจากท่านวาบิเศาะฮฺ บินมะอฺบัด กล่าวว่า : ฉันได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลม แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “ท่านมาเพื่อถามเรื่องความดีและความชั่วใช่ไหม?” ฉันตอบว่า “ใช่ครับ” ท่านเราะสูลก็ได้ตอบว่า “จงถามใจของท่านเองเถิ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


28


คำสั่งเสียของท่านนบี

عَنْ العِرْبَاضِ بْنِ سَارِيَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : وَعَظَنَا رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَوْعِظَةً، وَجِلَتْ مِنْهَا القُلُوْبُ، وَذَرَفَتْ مِنْهَا العُيُوْنُ، فَقُلْنَا : يَا رَسُوْلَ اللهِ كَأَنَّهَا مَوْعِظَةُ مُوَدِّعٍ فَأَوْصِنَا، قَالَ { أُوْصِيْكُمْ بِتَقْوَى اللَّهِ، وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، وَإِنْ تَأَمَّرَ عَلَيْكُم عَبْدٌ، وَإِنَّهُ مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ بَعْدِيْ فَسَيَرَى اخْتِلَافًا كَثِيْرًا، فَعَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ المَهْدِيِّيْنَ، عَضُّوْا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ، وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأُمُوْرِ، فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ } رَوَاهُ أَبُوْ دَاوُدَ وَالتِّرْمِذِيُّ، وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านอัลอิรบาฎ บินสาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตักเตือนพวกเราด้วยคำตักเตือนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเกิดความหวั่นเกรง และดวงตาก็หลั่งน้ำตาออกมา พวกเราจึงได้กล่าวกับท่านว่า “เราะสูลุลลอฮฺครับ เสมือนว่ามันคือคำตักเตือนผู้ที่จะอำลาเลย ดังนั้น โปรดสั่งเสียแก่พวกเราเถิด” ท่านเราะสูลก็ได้กล่าวว่า “ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม แม้ว่าผู้ที่ปกครองพวกท่านจะเป็นทาสคนหนึ่งก็ตาม เพราะแท้จริงแล้วใครที่มีชีวิตอยู่หลังฉ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


29


การงานที่ทำให้เข้าสวรรค์และห่างไกลจากนรก ประตูทั้งหลายของความดี และการระงับลิ้น

عَنْ مُعَاذٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قُلْتُ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ أَخْبِرْنِيْ بِعَمَلٍ يُدْخِلُنِي الجَنَّةَ وَيُبَاعِدُنِي مِنَ النَّارِ، قالَ { لَقَدْ سَأَلْتَ عَنْ عَظِيْمٍ وَإِنَّهُ لَيَسِيْرٌ عَلَى مَنْ يَسَّرَهُ اللَّهُ عَلَيْهِ، تَعْبُدُ اللَّهَ لَا تُشْرِكُ بهِ شَيْئًا، وَتُقِيْمُ الصَّلَاةَ، وَتُؤْتِي الزَّكَاةَ، وَتَصُوْمُ رَمَضَانَ، وَتَحُجُّ البَيْتَ } ثُمَّ قَالً { أَلَا أَدُلُّكَ عَلَى أَبْوَابِ الخَيْرِ؟ الصَّوْمُ جُنَّةٌ، وَالصَّدَقَةُ تُطْفِيءُ الخَطَيْئَةَ كَمَا يُطْفِئُُ المَاءُ النَّارَ، وَصَلاةُ الرَّجُلِ مِنْ جَوْفِ اللَّيْلِ } ثُمَّ تَلَا { تَتَجَافَى جُنُوْبُهُمْ عَنِ الْمَضَاجِعِ } حَتَّى بَلَغَ { يَعْمَلُونَ } ثُمَّ قَالَ { أَلَا أُخْبِرُكَ بِرَأْسِ الأَمْرِ وَعَمُوْدِهِ وَذِرْوَةِ سِنَامِهِ؟ } قُلْتُ : بَلَى يَا رَسُوْلَ اللَّهِ، قَالَ { رَأسُ الأمْرِ الإِسْلَامُ، وَعَمُوْدُهُ الصَّلَاةُ، وَذِرْوَةُ سَنَامِهِ الجِهَادُ } ثُمَّ قَالَ { أَلَا أُخْبِرُكَ بِمَلَاكِ ذَلِكَ كُلِّهِ؟ } قُلْتُ : بَلَى يَا رَسُوْلَ اللَّهِ، فَأَخَذَ بِلِسَانِهِ، قَالَ { كُفَّ عَلَيْكَ هَذَا } قُلْتُ : يَا نَبِيَّ اللَّهِ، وَإِنَّا لَمُؤَاخَذُوْنَ بِمَا نَتَكلَّمُ بِهِ؟، فَقَالَ { ثَكِلَتْكَ أُمُّكَ، وَهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ فِي النَّارِ عَلَى وُجُوْهِهِمْ أَوْ عَلَى مَنَاخِرِهم إِلَّا حَصَائِدُ أَلْسِنَتِهِم } رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ، وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านมุอ๊าซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้กล่าว (กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ) ว่า "ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ โปรดบอกผมถึงการงานหนึ่งที่จะทำให้ผมได้เข้าสวนสวรรค์ และห่างไกลจากไฟนรกด้วยเถิด” ท่านเราะสูลตอบว่า “แท้จริงท่านได้ถามถึงเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก แต่มันจะเป็นเรื่องง่ายดายสำหรับคนที่อัลลอฮฺให้ความง่ายดายแก่เขา นั่นก็คือเจ้า (จะต้อง) อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺโดยไม่ตั้งภาคีใด ๆ ต่อพระองค์ ท่านดำรงการละหมาด ท่านจ่ายซะกาต ท่านถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน และท่านประกอบพิธีหัจญ์ที่บัยตุลลอฮฺ" จากนั้นท่านเราะสูลก็ได ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


30


หยุดอยู่ที่บทบัญญัติของอัลลอฮฺ

عَنْ أَبِيْ ثَعلَبَةَ الخُشَنِّي رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { إِنَّ اللَّهَ فَرَضَ فَرَائِضَ فَلَا تُضَيِّعُوْهَا، وَحَدَّ حُدُوْدًا فَلَا تَعْتَدُوْهَا، وَحَرَّمَ أَشْيَاءَ فَلَا تَنْتَهِكُوْهَا، وَسَكَتَ عَنْ أَشْيَاءَ رَحْمَةً لَكُمْ غَيْرَ نِسْيَانٍ فَلَا تَبحَثُوْا عَنْهَا } حَدِيْثٌ حَسَنٌ، رَوَاهُ الدَّارَقُطْنِيُّ وَغَيْرُهُ

จากท่านอบูษะอฺละบะฮฺ อัลคุชันนีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ : จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮฺ วะสัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮฺทรงบัญญัติข้อบังคับ (ฟัรฎู) ต่าง ๆ ดังนั้น พวกท่านอย่าได้ละเลยพวกมันเด็ดขาด, พระองค์ทรงกำหนดขอบเขตต่าง ๆ เอาไว้ ดังนั้น พวกท่านอย่าได้ล่วงล้ำ (หรือละเมิด) มัน, พระองค์ทรงห้ามบางอย่าง พวกท่านก็อย่าได้ละเมิดมัน และพระองค์ทรงเงียบเฉยต่อบางสิ่งบางอย่างโดยเป็นความเมตตาสำหรับพวกท่าน มิใช่เพราะความหลงลืม ดังนั้น พวกท่านก็อย่าได้สืบเสาะค้นหามัน" หะดีษหะสัน บันทึกโดยอัดดาเราะกุฏนีย์ (เล ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


31


จงสมถะ

عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ السَّاعِدِيِّ قَالَ : جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ دُلَّنِيْ عَلَى عَمَلٍ إِذَا عَمِلْتُهُ أَحَبَّنِي اللَّهُ وَأَحَبَّنِي النَّاسُ، فَقَال { ازْهَدْ فِي الدُّنْيَا يُحِبَّكَ اللَّهُ، وَازْهَدْ فِيْمَا فِيْ أَيْدِي النَّاسِ يُحِبَّكَ النَّاسُ } حَدِيْثٌ حَسَنٌ رَوَاهُ ابْنُ مَاجَه وَغَيْرُهُ بِأَسَانِيْدَ حَسَنَةٍ

จากท่านสะฮลฺ บินสะอดฺ อัสสาอิดีย์) กล่าวว่า : ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ โปรดแนะนำการงานหนึ่งแก่ผม ที่เมื่อผมทำมันแล้ว จะทำให้อัลลอฮฺรักผมและทำให้ผู้คนรักผมด้วย” ท่านเราะสูลตอบว่า “ท่านจงมีสมถะต่อโลกใบนี้ แล้วอัลลอฮฺจะรักท่าน และจงมีสมถะ (ไม่อยากได้) ต่อสิ่งที่อยู่ในมือ (การครอบครอง) ของผู้คน แล้วพวกเขาจะรักท่าน” หะดีษหะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (หะดีษเลขที่ 4102) และคนอื่น ๆ ด้วยสายรายงานที่ดี ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


32


ไม่มีการก่อความเดือนร้อน

عَنْ أَبِيْ سَعِيْدٍ الخُدْرِيِّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { لَا ضَرَرَ وَلَا ضِرَارَ } حَدِيْثٌ حَسَنٌ، رَوَاهُ ابْنُ مَاجَه وَالدَّارَقُطْنِيُّ وَغَيْرُهُمَا مُسْنَدًا، وَرَوَاهُ مَالِكٌ فِي المُوَطَّأ عَنْ عَمْرِو بْنِ يَحْيِى، عَنْ أَبِيْهِ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُرْسَلًا، فَأَسْقَطَ أَبَا سَعِيْدٍ، وَلَهُ طُرُقٌ يَقْوَى بَعْضُهَا بِبَعْضٍ

จากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ไม่มีการก่อความเดือนร้อนใด ๆ แก่ผู้อื่น และไม่มีการก่อความเดือนร้อนซึ่งกันและกัน” หะดีษหะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (หะดีษเลขที่ 2341) และอัดดาเราะกุฏนีย์ (หะดีษเลขที่ 4597) และคนอื่น ๆ นอกจากทั้งสองด้วยสายรายงานถึงท่านนบี และบันทึกโดยมาลิกในหนังสือ "อัลมุวัฏเฏาะอ์" (หะดีษเลขที่ 4597) จากอัมรู บินยะหฺยา จากพ่อของเขา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยสายรายงานที่มุรสัล โดยไม่ได้ระบุอบูสะ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


33


ผู้กล่าวอ้างจำเป็นต้องมีพยานหลักฐาน และผู้ปฏิเสธ (การกล่าวอ้างนั้น) จำเป็นต้องกล่าวสาบาน

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا : أَنَّ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { لَوْ يُعْطَى النَّاسُ بِدَعْوَاهُم، لَادَّعَى رِجَالٌ أَمْوَالَ قَوْمٍ وَدِمَاءَهُم، وَلَكِنَّ البَيِّنَةُ عَلَى المُدَّعِي وَاليَمِيْنُ عَلَى مَنْ أَنْكَرَ } حَدِيْثٌ حَسَنٌ، رَوَاهُ البَيْهَقِيُّ وَغَيْرُهُ هَكَذَا، وَبَعْضُهُ فِي الصَّحِيْحَيْنِ

จากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "ถ้ามนุษย์ได้รับ (ทุกอย่าง) ตามการกล่าวอ้าง (หรือ การเรียกร้อง) ของพวกเขา ผู้คนย่อมกล่าวอ้าง (สิทธิ์) ในทรัพย์สินหรือเลือดเนื้อของกลุ่มคนหนึ่งแน่นอน ทว่าผู้กล่าวอ้างนั้นจำเป็นต้องมีพยานหลักฐาน และผู้ปฏิเสธ (การกล่าวอ้างนั้น) จำเป็นต้องกล่าวสาบาน" หะดีษหะสัน บันทึกโดยอัลบัยฮะกีย์ (หะดีษเลขที่ 20990) และคนอื่น ๆ ด้วยสำนวนนี้ และบางส่วนของมันมีอยู่ในหนังสือเศาะฮีหฺทั้งสอง (คือ อัลบุคอรีย์ หะดีษ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


34


จงเปลี่ยนแปลงความชั่วร้าย (มุงกัร) ตามกำลังความสามารถ

عَنْ أَبِيْ سَعِيْدٍ الخُدْرِيِّ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللَّهَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { مَنْ رَأَىْ مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيْمَانِ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ กล่าวว่า : ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ใครก็ตามที่พบเห็นความชั่วร้าย (มุงกัร) หนึ่ง เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากไม่มีความสามารถ เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยลิ้นของเขา และหากไม่มีความสามารถอีก เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยหัวใจของเขา และนั่นคือความศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด” บันทึกโดยมุสลิม (หะดีษเลขที่ 49) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


35


มุสลิมเป็นพี่น้องกัน

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { لَا تَحَاسَدُوا، وَلَا تَنَاجَشُوْا، وَلَا تَبَاغَضُوْا، وَلَا تَدَابَرُوْا، وَلَا يَبِعْ بَعْضُكُمْ عَلَى بَيْعِ بَعْضٍ، وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللَّهِ إِخْوَانًا، المُسْلِمُ أخُوْ المُسْلِمِ، لَا يَظْلِمُهُ، وَلَا يَخْذُلُهُ، وَلَا يَكْذِبُهُ، وَلَا يَحْقِرُهُ، التَّقْوَى هَا هُنَا } وَيُشِيْرُ إِلَى صَدْرِهِ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ { بِحَسْبِ امْرِئٍ مِنَ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاهُ المُسْلِمَ، كُلُّ المُسْلِمِ عَلَى المُسْلِمِ حَرَامٌ : دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “พวกท่านอย่าได้อิจฉาริษยากัน อย่าหลอกลวงกัน อย่าโกรธเกลียดกัน อย่าหันหลังให้แก่กัน อย่าขายสินค้าตัดหน้า (รวมถึงตัดราคา) กัน และพวกท่านจงเป็นปวงบ่าวของอัลลอฮฺที่เป็นพี่น้องกันเถิด มุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกับมุสลิม ไม่อธรรมกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ไม่โกหกกัน และไม่ดูถูกเหยียดหยามกัน ความยำเกรง (ตักวา) อยู่ที่นี่” และท่านนบีชี้ไปที่หน้าอก (หัวใจ) ของท่าน 3 ครั้ง "เป็นความชั่วร้ายพอแล้วสำหรับคน ๆ หน ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


36


คุณค่าของการช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและการแสวงหาความรู้

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَة رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : عَنْ رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا نَفَّسَ اللَّهُ عَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَوْمِ القِيَامَةِ، وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ اللَّهُ عَلَيْهِ فِيْ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِمًا سَتَرَهُ اللَّهُ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَاللَّهُ فِيْ عَوْنِ العَبْد مَا كَانَ العَبْدُ فِيْ عَوْنِ أَخِيْهِ، وَمَنْ سَلَكَ طَرِيْقًا يَلتَمِسُ فِيْهِ عِلْمًا، سَهَّلَ اللَّهُ لَهُ بِهِ طَرِيْقًا إِلَى الجَنَّةِ، وَمَا جَلَسَ قَوْمٌ فِي بَيْتٍ مِنْ بُيُوْتِ اللَّهِ، يَتْلُوْنَ كِتَابَ اللَّهِ، وَيَتدَارَسُوْنَهُ بَيْنَهُم، إِلَّا نَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِيْنَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَحَفَّتْْهُمُ المَلَائِكَةُ، وَذَكَرَهُم اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ، وَمَنْ بَطَّأَ بِهِ عَمَلُهُ لَمْ يُسْرِعْ بِهِ نَسَبُهُ } رَوَاهُ مُسْلِمٌ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ : จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ใครที่ช่วยให้ผู้ศรัทธาคนหนึ่งหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างหนึ่งจากความทุกข์ทั้งหลายของโลกดุนยา อัลลอฮฺจะทรงจะทรงช่วยให้เขาหลุดพ้นจากความทุกข์หนึ่งจากความทุกข์ทั้งหลายในวันกิยามะฮฺ, ใครที่ให้ความสะดวกง่ายดายแก่ผู้ที่ทุกข์ยากลำบาก อัลลอฮฺจะก็ทรงช่วยเหลือเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า, ใครที่ปกปิด (ความอับอายให้กับ) มุสลิม อัลลอฮฺจะทรงปกปิด (ความอับอายของ) เขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า, และอัลลอฮฺนั้นพร้อมให้ค ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


37


บันทึกและการตอบแทนความดีและความชั่ว

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا : عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِيْمَا يَرْوِيْ عَنْ رَبِّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى قَالَ { إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ كَتَبَ الحَسَناَتِ وَالسَّيِّئَاتِ، ثُمَّ بَيَّنَ ذَلِكَ، فَمَنْ هَمَّ بِحَسَنةٍ، فَلَمْ يَعْمَلْهَا كَتَبَهَا اللَّهُ عِنْدَهُ حَسَنَةً كَامِلَةً، وَإِنْ هَمَّ بِهَا فَعَمِلَها كَتَبَها اللَّهُ عِنْدَهُ عَشْرَ حَسَنَاتٍ إِلَى سَبْعِ مِئَةِ ضِعْفٍ إِلَى أَضْعَافٍ كَثِيْرَةٍ، وَإِنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ، فَلَمْ يَعْمَلْهَا، كَتَبَهَا اللَّهُ عِنْدَهُ حَسَنَةً كَامِلَةً، وَإِنْ هَمَّ بِهَا فعَمِلَهَا كَتَبَهَا اللَّهُ سَيِّئَةً وَاحِدَةً } رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ وَفِيْ رِوَايَةٍ لِمُسْلِمٍ زِيَادَةٌ فِيْ آخِرِ الحَدِيْثِ، وَهِيَ { أَوْ مَحَاهَا اللَّهُ، وَلَا يَهْلِكُ عَلَى اللَّهِ إِلَّا هَالِكٌ }

จากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา : จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่าน ผู้ทรงจำเริญและสูงส่งยิ่ง ตรัสว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงบันทึกความดีและความชั่วทั้งหลาย แล้วพระองค์ก็ทรงชี้แจง (อธิบาย) เรื่องดังกล่าวนี้ว่า ใครตั้งใจทำความดีหนึ่ง แต่เขาไม่ได้ทำมัน อัลลอฮฺจะทรงบันทึกมันไว้ ณ ที่พระองค์เป็นหนึ่งความดีที่สมบูรณ์ แต่ถ้าตั้งใจทำความดี แล้วก็ได้ทำมันจริง อัลลอฮฺก็จะทรงบันทึกมันไว้ ณ ที่พระองค์เป็นความดี 10 เท่า ถึง 700 เท่า ไปจนถึงอีกหลายเท่าทวีคูณ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


38


คุณลักษณะและความประเสริฐของคนที่อัลลอฮฺรัก

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَة رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى قَالَ : مَنْ عَادَى لِيْ وَلِيًّا، فَقَدْ آذَنْتُهُ بِالحَرْبِ، وَمَا تَقَرَّبَ إِلَيَّ عَبْدِيْ بِشَيْءٍ أَحَبَّ إِلَيَّ مِمَّا افْتَرَضْتُ عَلَيْهِ، وَلَا يَزالُ عَبْدِيْ يَتَقَرَّبُ إِلَيَّ بِالنَّوَافِلِ حَتَّى أُحِبَّهُ، فَإِذَا أَحْبَبْتُهُ، كُنتُ سَمْعَهُ الَّذِيْ يَسْمَعُ بِهِ، وَبَصَرَهُ الَّذِيْ يُبْصِرُ بِهِ، وَيَدَهُ الَّتِيْ يَبطُشُ بِهَا، وَرِجْلَهُ الَّتِيْ يَمْشِيْ بِهَا، وَلَئِنْ سَأَلنِيْ لَأُعْطِيَنَّهُ، وَلَئِنْ اسْتَعَاذَنِيْ لَأُُعِيْذَنَّهُ } رَوَاهُ البُخَارِيُّ

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ตรัสว่า : ใครเป็นศัตรูกับคนรักของข้า แน่นอนข้าได้ประกาศสงครามกับเขาแล้ว และบ่าวของข้าจะไม่สิ่งใดที่ทำให้ได้ใกล้ชิดกับข้า ที่ข้าจะรักมากไปกว่าสิ่งที่ข้าได้กำหนดเป็นข้อบังคับ (ฟัรฎู) สำหรับเขา และบ่าวของข้าจะคงพยายามเข้าใกล้ชิดข้าด้วยการงานอาสา (นะวาฟิลหรือสุนนะฮฺ) ต่าง ๆ กระทั่งข้ารักเขา ดังนั้น เมื่อข้ารักเขาแล้ว ข้าจะเป็นหูที่เขาใช้ฟัง, ข้าจะเป็นดวงตาที ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


39


3 กรณีที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงเอาผิด

عَنِ ابْنِ عَبَّاسِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا : أَنَّ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { إِنَّ اللَّهَ تَجَاوَزَ لِيْ عَنْ أُمَّتِي الخَطَأَ وَالنِّسْيَانَ، وَمَا اسْتُكْرِهُوْا عَلَيْهِ } حَدِيْثٌ حَسَنٌ رَوَاهُ ابْنُ مَاجهْ وَالبَيْهَقِيُّ وَغَيْرُهُمَا

จากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้มอบสิทธิ์แก่ฉันด้วยการไม่เอาผิดประชาชาติของฉัน ในสิ่งที่ที่เป็นความผิดพลาด การหลงลืม และสิ่งที่พวกเขาถูกบังคับให้กระทำโดยไม่เต็มใจ” หะดีษหะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (หะดีษเลขที่ 2045) และอัลบัยฮะกีย์ (14871) และคนอื่น ๆ นอกจากทั้งสอง ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


40


จงอยู่ในโลกใบนี้เสมือนกับว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าหรือคนเดินทาง

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : أَخَذَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِمَنْكِبِيَّ، فَقَالَ { كُنْ فِيْ الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ أَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ } وَكَانَ ابْنُ عُمَرَ يَقُوْلُ : إِذَا أَمْسَيْتَ، فَلَا تَنْتَظِرِ الصَّبَاحَ، وَإِذَا أَصْبَحْتَ فَلَا تَنْتَظِرِ المَسَاءَ، وَخُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِمَرَضِكَ، وَمِنْ حَيَاتِكَ لِمَوْتِكَ رَوَاهُ البُخَارِيُّ

จากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้จับไหล่ทั้งสองของฉัน แล้วกล่าวว่า "ท่านจงอยู่ในโลกใบนี้เสมือนกับว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าหรือคนเดินทาง" และท่านอิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า "เมื่อท่านอยู่ในเวลาเย็น ก็อย่าได้รีรอจนถึงเวลาเช้า และเมื่อท่านอยู่ในเวลาเช้า ก็อย่าได้รีรอจนถึงเวลาเย็น และท่านจงใช้สุขภาพดีของท่าน (ในการทำความดี) เพื่อยามเจ็บป่วยของท่าน และจงใช้ชีวิตของท่าน (สะสมความดีงาม) เพื่อความตายของท่าน" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (บันทึกโดย 641 ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


41


ศรัทธาที่สมบูรณ์คือการตามสิ่งที่นบีได้นำมา

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرِو بْنِ العَاصِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { لَا يُؤمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يَكُوْنَ هَوَاهُ تَبَعًا لِمَا جِئْتُ بِهِ } قَالَ الشَّيْخُ رَحِمَهُ اللَّهُ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ، رَوَيْنَاهُ فِي كِتَابِ الحُجَّة بِإِسْنَادٍ صَحِيْحٍ

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรู บินอัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะไม่ศรัทธา (โดยสมบูรณ์) จนกว่าอารมณ์ใฝ่ต่ำ (ฮะวา) ของเขาจะตามสิ่งที่ฉันได้นำมา" ท่านเชค (อบุลฟัตหฺ นัศรฺ บินอิบรอฮีม อัลมักดิสีย์) เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : หะดีษหะสันเศาะฮีหฺ เราได้รายงานมันไว้ในหนังสือ "อัลหุจญะฮฺ" ด้วยสายรายงานเศาะฮีหฺ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


42


โอ้ลูกหลานอาดัม นี่คือการอภัยโทษของอัลลอฮฺ

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { قَالَ اللَّهُ تَعَالَى : يَا ابْنَ آدَمَ، إِنَّكَ مَا دَعَوْتَنِيْ وَرَجَوتَنِيْ غَفَرْتُ لَكَ عَلَى مَا كَانَ مِنْكَ وَلَا أُبَالِيْ، يَا ابْنَ آدَمَ لَوْ بَلَغَتْ ذُنُوْبُكَ عَنَانَ السَّمَاءِ ثُمَّ اسْتَغفَرْتَنِيْ غَفَرْتُ لَكَ، يَا ابْنَ آدَمَ إِنَّكَ لَوْ أَتَيْتَنِيْ بِقُرَابِ الَأْرضِ خَطَايَا ثُمَّ لَقِيْتَنِيْ لَا تُشْرِكُ بِيْ شَيْئًا، لَأَتَيْتُكَ بِقُرَابِهَا مَغْفِرَةً } رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ตรัสว่า : โอ้ลูกหลานอาดัม ตราบใดที่เจ้าวิงวอนขอต่อข้า และมีความหวังต่อข้า ข้าก็จะให้อภัยในความผิดที่เจ้าทำมา และข้าไม่สนใจ (ว่ามันจะเป็นความผิดในเรื่องอะไร หรือมากแค่ไหน) โอ้ลูกหลานอาดัม ต่อให้ความผิดบาปของเจ้าจะสูงเสียดฟ้า แต่แล้วเจ้าได้ขออภัยโทษจากข้า ข้าก็จะอภัยโทษให้กับเจ้า โอ้ลูกหลานอาดัม หากเจ้ามาหาข้าพร้อมกับความผิดเท่าผืนแผ่นดินนี้ แล้วเจ้ามาพบข้าโดยไม่ได้ตั้ง ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


43


จงให้มรดกแก่เจ้าของมัน

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { أَلْحِقُوا الفَرَائِضَ بِأَهْلِهَا، فَمَا أَبْقَتِ الفَرَائِضُ فَلِأَوْلَى رَجُلٍ ذَكَرٍ } خَرَّجَهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "พวกท่านจงให้มรดกแก่เจ้าของ (ผู้มีสิทธิ์ได้รับ) มัน (ตามบัญญัติอิสลาม) และส่วนที่เหลือจากมรดก (หมายถึง อะเศาะบะฮฺ) นั้นเป็น (สิทธิ์) ของชายที่ใกล้ชิดที่สุด" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 6746) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 1615) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


44


การให้น้ำนมทำให้เกิดการห้ามเช่นเดียวกับการให้กำเนิด

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا : عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { الرَّضَاعَةُ تُحَرِّمُ مَا تُحَرِّمُ الوِلَادَةُ } خَرَّجَهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา : จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "การให้น้ำนมนั้นทำให้เกิดการห้าม (แต่งงานระหว่างคนที่มีแม่นมเดียวกัน) เช่นเดียวกับการห้าม (แต่งงานเพราะสาเหตุ) ของการให้กำเนิด (หรือมีสัมพันธ์ทางสายเลือด)" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 2646, 3105 และ 5099) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 1444) ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


45


ห้ามขายสิ่งมึนเมา สัตว์ตาย หมู และรูปเจว็ด

عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللََّهِ أَنَّهُ سَمِعَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَامَ الفَتْحِ وَهُوَ بِمَكَّةَ يَقُوْلُ { إِنَّ اللَّهَ وَرَسُوْلَهُ حَرَّمَ بَيْعَ الخَمْرِ وَالمَيْتَةِ وَالخِنْزِيْرِ وَالأَصْنَامِ } فَقِيْلَ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ أَرَأَيْتَ شُحُوْمَ المَيْتَةِ، فَإِنَّهُ يُطْلَى بِهَا السُّفُنُ، وَيُدْهَنُ بِهَا الجُلُودُ، وَيَسْتَصْبِحُ بِهَا النَّاسُ؟، قَالَ { لَا، هُوَ حَرَامٌ } ثُمَّ قَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِنْدْ ذَلِكَ { قَاتَل اللَّهُ اليَهُوْدَ، إِنَّ اللَّهَ حَرَّمَ عَلَيْهِمُ الشُّحُوْمَ، فَأَجْمَلُوْهُ ثُمَّ بَاعُوْهُ فَأَكَلُوْا ثَمَنَهُ } خَرَّجَهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ว่า : ท่านเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในปีแห่งการพิชิต ซึ่งขณะท่านอยู่ที่เมืองมักกะฮฺ ท่านกล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้ห้ามการขายสิ่งมึนเมา สัตว์ที่ตายแล้ว หมู และรูปเจว็ด" แล้วมีคนถามขึ้นมาว่า "ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ ท่านคิดเห็นอย่างไรกับไขมันของสัตว์ที่ตายแล้ว เพราะมันสามารถนำไปละลายใช้เป็นน้ำมันไข ทาไม้เรือ ฟอกหนัง และนำไปใช้จุดตะเกียงได้" ท่านเราะสูลตอบว่า "ไม่ มันเป็นที่ต้องห้าม" ต่อมาในขณะนั้นเองท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัล ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


46


ทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมานั้นเป็นที่ต้องห้าม

عَنْ أَبِيْ بُرْدَةَ عَنْ أَبِيْهِ أَبِيْ مُوْسَى الأَشْعَرِيِّ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَهُ إِلَى اليَمَنِ، فَسَأَلَهُ عَنِ أَشَرِبَةٍ تُصْنَعُ بِهَا، فَقَالَ { وَمَا هِيَ؟ } قَالَ : البِتْعُ وَالمِزْرُ، فَقِيْلَ لِأَبِيْ بُرْدَةَ : وَمَا البِتْعُ؟، قَالَ : نَبِيْذُ العَسَلِ، وَالمِزْرُ نَبِيْذُ الشَّعِيْرِ، فَقَالَ { كُلُّ مُسْكِرٍ حَرَامٌ } خَرَّجَهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากอบูบุรดะฮฺ จากพ่อของเขาคือ ท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ ว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งท่านอบูมูซาไปที่เยเมน แล้วท่านอบูมูซาก็ได้ถามท่านนบีเกี่ยวเครื่องดื่มที่ผลิตที่นั่น ท่านนบีจึงถามว่า "มันคืออะไร?" ท่านอบูมุซาก็ตอบว่า "อัลบิตอฺและอัลมิซรฺ" มีคนถามอบูบุรดะฮฺว่า "อัลบิตอฺคืออะไร?" อบูบุรดะฮฺตอบว่า " (อัลบิตอฺ) คือน้ำหมักที่ใส่น้ำผึ้ง ส่วนอัลมิซรฺคือน้ำหมักที่มาจากข้าว (บาร์เลย์หรือข้าวโอ๊ต)" แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมานั้นเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม)" บันทึกโดยอัล ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


47


แบ่งท้องเป็น 3 ส่วน

عَنِ المِقْدَامِ بْنِ مَعْدِ يْكَرِبَ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ { مَا مَلأ آدَمِيُّ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ، بِحَسْبِ ابْنِ آدَمَ أَكَلَاتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ، فَإِنْ كَانَ لَا مَحَالَةَ، فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ، وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ، وَثُلُثٌ لِنَفْسِهِ } رَوَاهُ الِإَمامُ أَحْمَدُ وَالتِّرْمِذِيُّ وَالنَّسَائِيُّ وَابْنُ مَاجَهْ، وَقَالَ التِّرْمِذْيُّ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ

จากท่านอัลมิกดาม บินมะอฺดีกะริบ กล่าวว่า ฉันเคยฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์บรรจุลงใบจะเลวร้ายยิ่งกว่าท้อง เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมที่จะทานอาหารไม่กี่คำเพื่อตั้งหลังของเขาให้ตรงได้ หรือแต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็จงแบ่ง (ท้องเป็น 3 ส่วน) ส่วนหนึ่งสำหรับอาหาร ส่วนหนึ่งสำหรับเครื่องดื่ม และอีกส่วนหนึ่งสำหรับลมหายใจ” บันทึกโดยอะหมัด (หะดีษเลขที่ 17186), อัตติรมิซีย์ (หะดีษเลขที่ 2380), อันนะสาอีย์ (ในสุนันอัลกุบรอ หะดีษเลขที่ 6769) และอิบนุมาญะฮ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


48


4 ลักษณะของคนกลับกลอก (มุนาฟิก)

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرِو رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا : عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { أَرْبَعٌ مَنْ كُنَّ فِيْهِ كَانَ مُنَافِقًا، وَإِنْ كَانَتْ خَصْلَةٌ مِنْهُنَّ فِيْهِ كَانَتْ فِيْهِ خَصْلَةٌ مِنَ النِّفَاقِ حَتَّى يَدَعَها : مَنْ إِذَا حَدَّثَ كَذَبَ، وَإِذَا وَعَدَ أخْلَفَ، وَإِذَا خَاصَمَ فَجَرَ، وَإِذَا عَاهَدَ غَدَرَ } خَرَّجَهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรู บินอัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา : จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "(ลักษณะหรือพฤติกรรม) 4 อย่าง ใครก็ตามที่มีมัน (ครบทั้งหมด) เขาก็เป็นคนกลับกลอก (มุนาฟิก) แต่ถ้าเขามีหนึ่งส่วนจากสี่อย่างนั้น ตัวเขาก็มีส่วนหนึ่งของความกลับกลอกจนกว่าเขาจะละทิ้งมันไป ได้แก่ คนที่เมื่อเขาพูด เขาก็โกหก, เมื่อเขาสัญญา เขาก็ผิดสัญญา, เมื่อเขาทะเลาะ (หรือโกรธใคร) เขาก็ละเมิด (เลยเถิด) และเมื่อทำสัญญา เขาก็บิดพลิ้ว" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษเลขที่ 34, 2459 และ 3178) และมุ ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


49


การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ

عَنْ عُمَرَ بْنِ الخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ : عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { لَوْ أنَّكُمْ تَوْكَّلُوْنَ عَلَى اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ، تَغدُوْ خِمَاصًا، وَتَرُوْحُ بِطَانًا } رَوَاهُ الإِمَامُ أَحْمَدُ وَالتِّرْمِذِيُّ وَالنَّسَائِيُّ وَابْنُ مَاجَهُ وَابْنُ حِبَّان فِي صَحِيْحِهِ وَالحَاكِمُ، وَقَالَ التِّرْمِذِيُّ : حَسَنٌ صَحِيْحٌ

จากท่านอุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ : จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "หากพวกท่านมอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง แน่นอนพระองค์จะทางประทานปัจจัยยังชีพ (ริซกี) แก่พวกท่าน เฉกเช่นที่พระองค์ได้ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกนก มันออกจากรังช่วงเช้ามืดในสภาพที่ท้องว่าง แต่กลับรังในช่วงเย็นในสภาพที่อิ่มท้อง" บันทึกโดยอิมามอะหมัด (หะดีษเลขที่ 205), อัตติรมิซีย์ (หะดีษเลขที่ 2344), อันนะสาอีย์ (ในสุนันอัลกุบรอ หะดีษเลขที่ 11051), อิบนุมาญะฮฺ (หะดีษเลขที่ 4164), อิบนุหิบบานในหนังสือเศา ...

อ่านทั้งหมด

หะดีษที่


50


จงให้ลิ้นชุ่มชื่นด้วยการรำลึกถึงพระองค์

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُسْرٍ قَالَ : أَتَى النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَجُلٌ، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللَّهِ، إِنَّ شَرَائِعَ الإِسْلَام قَدْ كَثُرَتْ عَلَيْنَا، فَبَابٌ نَتَمَسَّكُ بِهِ جَامَعٌ؟، قَالَ { لَا يَزَالُ لِسَانُكَ رَطْبًا مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ } خَرَّجَهُ الإِمَامُ أَحْمَدُ بِهَذَا اللَّفظِ

จากท่านอับดุลลอฮฺ บินบุสรฺ กล่าวว่า : ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า "ท่านเราะสูลุลลอฮฺครับ บัญญัติต่าง ๆ ของอิสลามนั้นมีมากมายเหลือเกินสำหรับเรา มีประตูสักบานหนึ่งไหมที่ครอบคลุมบทบัญญัติทั้งหมด ผมจะได้ยึดมั่นปฏิบัติมันอย่างเคร่งครัด?" ท่านนบีก็ได้กล่าวว่า "จงให้ลิ้นของท่านชุ่มชื่นด้วยการรำลึกถึงพระองค์ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง เถิด" บันทึกโดยอิมามอะหมัดด้วยสำนวนนี้ (หะดีษเลขที่ 17698) ...

อ่านทั้งหมด