:: ค่าตอบแทนของผู้รู้ในยุคอับบาสิยยะฮฺ ::
ในยุคที่คิลาฟะฮฺอับบาสิยยะฮฺเจริญรุ่งเรืองมาก ๆ ค่าตอบแทนที่อาจารย์ผู้สอนและผู้รู้ได้รับนั้นน่าอัศจรรย์มาก
وأما رواتب المعلمين فكانت رواتب المؤذنين ألف دينار في السنة
ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์ผู้สอนนั้น เท่ากับค่าตอบแทนของผู้ประกาศอาซาน คือ 1,000 ดีนารต่อปี (ประมาณ 8.5 ล้านบาทไทยในปัจจุบัน)والمشتغلين بجمع القرآن والعاملين على التعليم والمقبلين على طلب العلم ألفين دينار بالسنة
ส่วนผู้รู้ทั้งหลายที่ยุ่งอยู่กับอัลกุรอาน สอนความรู้อัลกุรอาน และดูแลนักศึกษา ค่าตอบแทนของพวกเขาคือ 2,000 ดีนารต่อปี (ราว ๆ 17 ล้านบาท)والمشتغلين بجمع القرآن ورواة الحديث والفقهاء 4 آلاف دينار بالسنة
และผู้รู้ที่มีความสามารถพิเศษในเรื่องความรู้อัลกุรอาน สายรายงานหะดีษ รวมถึงนักนิติศาสตร์นั้น จะได้รับค่าตอบแทน 4,000 ดีนารต่อปี (ประมาณ 34 ล้านบาท)
นอกจากค่าตอบแทนทั่วไปดังกล่าวแล้ว ยังมีการบันทึกว่า ผู้รู้บางท่านได้รับค่าตอบแทนพิเศษจากรัฐ เนื่องจากคุณประโยชน์และคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขา เช่น ในยุคเคาะลีฟะฮฺอัลวาสิฏ เคาะลีฟะฮฺได้มอบเงินให้ผู้รู้คนหนึ่งชื่อ “อัลญารีย์” จากเดิม 100 ดีนารต่อเดือน (ประมาณ 850,000 บาท) แล้วต่อมาได้ปรับเป็น 500 ดีนารแทน (ราว ๆ 4.25 ล้านบาทต่อเดือน)
ในยุคของเคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรเราะชีด ยิ่งแล้วใหญ่ เคยมีระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทนสำหรับงานเขียนของบรรดาผู้รู้ โดยจะตอบแทนเป็นทองคำตามน้ำหนักของหนังสือที่ชั่งได้
สมมุติว่าหนังสือหนึ่งเล่มหนัก 1 กิโลกรัม เคาะลีฟะฮฺฮารูนก็จะมอบทองคำ 1 กิโลกรัมแก่ผู้รู้ท่านนั้นเป็นการตอบแทน และส่วนใหญ่แล้วผู้รู้ในอดีตมักจะเขียนหนังสือหลายเล่ม บางเล่มเป็นชุดหนังสือที่ประกอบด้วยหนังสือหนา ๆ หลายสิบเล่ม หากตีค่าเป็นค่าตอบแทนทองคำจากเคาะลีฟะฮฺ คงมีน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัมเลยทีเดีย
นี่คือหนึ่งในความลับที่ว่า ทำไมความรู้และอารยธรรมอิสลามในอดีตถึงได้เจริญเติบโตและรุ่งเรืองมาก เพราะบรรดาครูบาอาจารย์และนักวิชาการได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในคุณูปการต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ทำไว้
——————
อ้างอิง :
1-อันนะฟะกอต วะอิดาเราะตุฮา ฟิดเดาะละฮฺ อัลอับบาสิยยะฮฺ โดย ดร.ฎ็อยฟุลลอฮฺ ยะหฺยา อัซซะฮฺรอนีย์ หน้าที่ 202